อาหารผู้ป่วยติดเตียง ควรกินแบบไหน อาหารเสริมทางการแพทย์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือไม่ ?

อาหารผู้ป่วยติดเตียง ควรกินแบบไหน อาหารเสริมทางการแพทย์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือไม่ ?

อาหารผู้ป่วยติดเตียง

            อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวควรให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนนิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อาการหนึ่งที่พบบ่อย ก็คือ ภาวะกลืนอาหารลำบาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้น้อย ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่จึงมักมีภาวะขาดสารอาหาร  โดยในการรักษาทางการแพทย์จะใช้วิธีให้ผู้ป่วยทานอาหารที่สามารถกลืนได้ง่ายแทน ซึ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะใช้การให้อาหารทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยก็ยังจำเป็นต้องทานอาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียงร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจ ซ่อน
อาหารผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร

อาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร

            อาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียง คือ อาหารที่เหมาะสำหรับให้ผู้ป่วยติดเตียงรับประทาน โดยอาหารจะมีลักษณะเป็นอาหารอ่อน สามารถกลืนและย่อยได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงสามารถทานได้อย่างสะดวก และไม่เกิดการสำลักหรืออาหารติดคอ ซึ่งนอกจากอาหารผู้ป่วยติดเตียงจะทานง่ายและสะดวกแล้ว ก็ยังถูกออกแบบมาให้มีสารอาหารต่างๆ ที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วยอีกด้วย ช่วยให้ผู้ป่วยมีแรงและมีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น

การให้อาหารของผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท?

            อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและความต้องการสารอาหารของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งอาหารบางประเภทก็ยังสามารถใช้กับผู้สูงอายุได้อีกด้วย โดยการให้อาหารของผู้ป่วยติดเตียง จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. อาหารเหลวผู้ป่วยติดเตียง

            อาหารเหลวผู้ป่วยติดเตียง จะเป็นอาหารที่มีลักษณะเหลว สามารถทานและย่อยได้ง่าย เช่น น้ำซุปใส น้ำต้มผัก เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือ นมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น โดยอาหารเหลวจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ อาหารเหลวแบบใส และอาหารเหลวแบบข้น ซึ่งอาหารเหลวแบบข้นจะมีเนื้อสัมผัสและสารอาหารที่มากกว่าแบบใส

 2.อาหารปั่นสําหรับผู้ป่วยติดเตียง

            อาหารปั่นจะเป็นการนำอาหารที่ปรุงสุกแล้ว มาปั่นให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงสามารถทานและกลืนได้ง่าย รวมถึงการปั่นก็ยังช่วยให้อาหารนั้นมีเนื้อที่ละเอียด จึงลดโอกาสที่จะเกิดการสำลักหรืออาหารติดคอ โดยสามารถปั่นได้ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้

3.อาหารผู้สูงอายุติดเตียง

            สำหรับอาหารผู้สูงอายุหรือ  อาหารคนแก่ติดเตียง ก็จะมีลักษณะและรูปแบบที่เหมือนกับอาหารผู้ป่วยติดเตียงทั่วไป คือ สามารถให้ผู้สูงอายุติดเตียงทานได้ทั้งอาหารเหลว อาหารปั่น หรืออาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียง

4.อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเฉพาะทาง

            เป็นอาหารทางการแพทย์ที่ถูกดัดแปลงและปรับสารอาหารให้เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย เช่น อาหารผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคโลหิตจาง หรือโรคเก๊าท์ เป็นต้น ซึ่งจะยังมีลักษณะที่เป็นอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวอยู่

5.อาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียง

            อาหารเสริมสําหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือ อาหารเสริมคนป่วยติดเตียง จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารหรือต้องการสารอาหารบางชนิดเป็นพิเศษ เช่น เวย์โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ กากใยอาหาร เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

อาหารผู้ป่วยติดเตียง ควรกินแบบไหน ถึงจะครบถ้วนและดีต่อร่างกายที่สุด ในการทานอาหารผู้ป่วยติดเตียง ให้ได้สารอาหารครบถ้วนและดีต่อร่างกาย ควรจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาหารทั้ง 5 หมู่ จะประกอบไปด้วย • หมู่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ให้สารอาหารประเภทโปรตีน • หมู่ 2 แป้ง ข้าว น้ำตาล ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต • หมู่ 3 ผักและผลไม้ ให้สารอาหารประเภทแร่ธาตุ • หมู่ 4 ผลไม้ชนิดต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน • หมู่ 5 น้ำมันจากสัตว์และพืช ให้สารอาหารประเภทไขมัน

อาหารผู้ป่วยติดเตียง ควรกินแบบไหน ถึงจะครบถ้วนและดีต่อร่างกายที่สุด

            ในการทานอาหารผู้ป่วยติดเตียง ให้ได้สารอาหารครบถ้วนและดีต่อร่างกาย ควรจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาหารทั้ง 5 หมู่ จะประกอบไปด้วย

  • หมู่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ให้สารอาหารประเภทโปรตีน
  • หมู่ 2 แป้ง ข้าว น้ำตาล ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
  • หมู่ 3 ผักและผลไม้ ให้สารอาหารประเภทแร่ธาตุ
  • หมู่ 4 ผลไม้ชนิดต่างๆ ให้สารอาหารประเภทวิตามิน
  • หมู่ 5 น้ำมันจากสัตว์และพืช ให้สารอาหารประเภทไขมัน

การให้อาหารของผู้ป่วยติดเตียง มีกี่แบบ?

1.การให้อาหารแบบปกติ

            สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังสามารถทานอาหารเองได้ ผู้ดูแลจะใช้การให้อาหารแบบปกติ คือการป้อนอาหารให้กับผู้ป่วยผ่านทางปาก ด้วยอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนที่ย่อยง่าย ซึ่งในการป้อนอาหารควรให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุด แล้วทำการค่อยๆ ป้อนอาหารให้กับผู้ป่วย และหลังจากทานอาหารเสร็จแล้วก็ควรให้ผู้ป่วยนั่งในท่าเดิมก่อนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อยก่อนนอนลง

2.การให้อาหารทางสายยาง

            การให้อาหารทางสายยางด้วยเครื่องให้อาหารทางสายยางนั้น จะใช้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถทานอาหารทางปากได้เอง โดยสายยางสำหรับให้อาหารจะมี 2 แบบ คือ สายยางให้อาหารทางจมูก และสายยางให้อาหารทางหน้าท้อง ซึ่งวิธีนี้ผู้ดูแลควรจะมีความรู้เกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยางมาก่อนและควรทำอย่างระมัดระวัง เพื่อให้มีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้ป่วย

อาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นหรือไม่

            อาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก ในการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากอาหารผู้ป่วยติดเตียงจะมีลักษณะเป็นอาหารอ่อนหรือเหลว ผู้ป่วยจึงสามารถกลืนได้สะดวก แถมยังสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ง่ายอีกด้วย

ข้อควรระวังเมื่อต้องให้อาหารกับผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง

  • ควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง หรือนอนให้ศรีษะสูงอย่างน้อย 45 องศา ก่อนป้อนหรือให้อาหารกับผู้ป่วยติดเตียง
  • หากให้อาหารทางสายยาง ควรทำความสะอาดก่อนให้อาหาร
  • ควรให้อาหารผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง และปฏิบัตามคำแนะนำของแพทย์
  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอาหารเหลว ก่อนทำการผ่าตัด

อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ง่ายแล้ว ก็ยังช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการสำลักและอาหารติดคอได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นอาหารที่มีลักษณะเหลว จึงสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย โดยประเภทของ อาหารผู้ป่วยติดเตียง นั้นจะมีอยู่หลายประเภททั้งอาหารเหลว อาหารบด อาหารผู้ป่วยโรคเฉพาะทาง ไปจนถึงอาหารเสริม ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเลือกประเภทอาหารให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย รวมถึงยังควรเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *