ที่ช่วยพยุงเดิน มีวิธีการเลือกซื้ออย่างไร เลือกแบบไหนดี และตอบโจทย์ที่สุด

ที่ช่วยพยุงเดิน เลือกซื้อแบบไหนดีที่สุด

ที่ช่วยพยุงเดิน

อุปกรณ์พยุงเดิน หรือ ที่ช่วยพยุงเดิน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการรับน้ำหนักตัวของผู้ที่เคลื่อนไหวได้ลำบาก หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือที่ช่วยพยุงเดินเพื่อช่วยในการทรงตัว และทำให้สามารถเคลื่อนไหวเองได้ง่ายมากขึ้น ที่ช่วยพยุงเดินที่มีขายตามท้องตลาดนั้นมีอยู่หลายประเภทให้เลือกใช้งาน โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ใช้งาน หากเลือกใช้ผิดประเภทอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายผู้ใช้หรืออาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

ที่ช่วยพยุงเดิน เหมาะกับใคร

การใช้งานที่ค้ำเดินกับผู้ป่วย

โดยผู้ป่วยที่ว่านี้จะหมายถึง ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินเองได้สะดวก เนื่องมาจากอาการป่วยทางร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้สูญเสียการทรงตัวขณะเดินได้ หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกและไขข้อ ที่ส่งผลให้ขาของผู้ป่วยไม่สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์พยุงเดิน หรือ ที่ช่วยพยุงเดิน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่ออาการป่วย  

การใช้งานที่ค้ำเดินกับผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของคนเราก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการเจ็บ หรืออาการป่วยเกิดขึ้นมากมาย นอกจากโรคความดันโลหิตสูงแล้ว อีกโรคหนึ่งเลยที่มักพบบ่อยก็คือ โรคข้อเข่าเสื่อม โดยผู้สูงอายุจะรู้สึกเจ็บ หรือปวดบริเวณหัวเข่า เมื่อมีการเดินมาก ๆ โดยเฉพาะเวลาขึ้น – ลงบันได ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากจำเป็นต้องใช้ที่ช่วยพยุงเดินคนแก่เพื่อความปลอดภัย และช่วยทรงตัวในขณะเดิน

การใช้งานที่ค้ำเดินกับคนพิการ

สำหรับสาเหตุที่ทำให้พิการนั้นอาจเกิดจากการพิการตั้งแต่กำเนิด หรือพิการภายหลังจากการประสบอุบัติเหตุ โดยอาการส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเดินหรือเคลื่อนไหว ได้แก่ การสูญเสียขาหรือขาได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถเดินได้ และการพิการจากการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ซึ่งการสูญเสียอวัยวะที่สำคัญต่อการเดินเช่นนั้นไป ทำให้คนพิการจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พยุงเดิน หรือ ที่ช่วยพยุงเดิน เพื่อช่วยในการเดิน และช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปได้อย่างสะดวก

การใช้งานที่ค้ำเดินกับคนกายภาพบำบัด

สำหรับคนที่ต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยอัมพาต และรวมทั้งผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งจะมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเดินหรือเคลื่อนไหวของผู้ป่วย แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบแบบถาวร คือ ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้เหมือนปกติ หากแต่จะต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการใช้อุปกรณ์พยุงเดิน หรือ ตัวช่วยพยุงเดิน เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพร่างกายส่วนที่เสียหายให้สามารถกลับมาใช้งานได้

ที่ช่วยพยุงเดินมีอะไรบ้าง

ที่ช่วยพยุงเดินมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมใช้งาน จะมีดังนี้

1.ไม้เท้า 3-4 ขา

เป็นไม้เท้าที่มีลักษณะเป็นขากางแยกแบบ 3-4 ขา ตัวฐานไม้เท้ารองรับน้ำหนักได้กว้างมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้ทิ้งน้ำหนักที่แขนลงมาได้มากยิ่งขึ้น ทำให้การใช้งานไม้เท้าแบบ 3-4 ขา มีความมั่นคงกว่าการใช้ไม้เท้าแบบตัวที ที่ช่วยพยุงเดินประเภทนี้สามารถตั้งเองได้โดยที่ไม่ล้ม

ไม้เท้าอลูมิเนียม 4 ขา แบบแคบ
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูไม้เท้า

2.ไม้เท้ารูปต้ว T

ไม้เท้ารูปตัวทีมีลักษณะเป็นขาเดียว มีทั้งไม้เท้าแบบที่ปรับระดับได้ และไม่สามารถปรับระดับการใช้งานได้ นอกจากนี้ไม้เท้าตัวทีในบางรุ่นยังสามารถพับเก็บได้อีกด้วย ทำให้ผู้สูงอายุที่ใช้งานพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก แต่มีข้อเสียเล็กน้อยตรงที่ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการใช้แขนช่วยเพื่อรองรับน้ำหนักตัวแทนขานั่นเอง

ไม้เท้าอลูมิเนียมแบบพับเก็บได้
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูไม้เท้า

3.ไม้ค้ำยันศอก

ไม้ค้ำยันศอกจะมีที่ค้ำศอกและมีมือจับเพื่อรองรองน้ำตัวผู้ใช้งาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ประมาณ 40-50% เหมาะกับคนที่สามารถทรงตัวได้อยู่ในระดับค่อนข้างดี และจำเป็นอย่างมากที่ผู้ใช้งานจะต้องมีรูปร่างเหมาะสมกับการใช้งานไม้ค้ำยันศอก 

ไม้เท้าค้ำศอกอลูมิเนียม แบบครึ่งแขน
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูไม้ค้ำยัน

4.ไม้ค้ำยันรักแร้

ไม้ค้ำยันรักแร้จะใช้งานผ่านการค้ำใต้รักแร้ ถือว่าเป็นที่ช่วยพยุงเดินที่รองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้ดีมากถึง 80% แต่ผู้ใช้งานก็ต้องใช้พลังงานการเดินมากพอตัวอยู่ ทั้งนี้การใช้ไม้ค้ำยันยังต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง เพราะอาจจะเกิดการกดทับเส้นประสาทบริเวณรักแร้ได้เมื่อไม้ค้ำยันมีขนาดที่สูงเกินไป

ไม้เท้าค้ำยันรักแร้แบบไม้ ปรับระดับได้
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูไม้ค้ำยัน

5.วอคเกอร์ ( Walker )

วอคเกอร์ถูกจัดว่าเป็นที่ช่วยพยุงเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด เพราะมีฐานสำหรับรองรับน้ำหนักที่กว้าง ตัววอคเกอร์ส่วนมากจะผลิตจากอลูมิเนียมที่มีความแข็งแรง ทำให้มีน้ำหนักเบา จนผู้ใช้งานสามารถเดินได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งทั้งวอคเกอร์แบบมีล้อ และไม่มีล้อให้เลือกใช้งาน

Walker 4 ขา แบบพับไม่ได้ สำหรับฝึกเดินโดยเฉพาะ
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูวอคเกอร์

6.รถเข็นช่วยเดิน

รถเข็นช่วยเดินจะมีล้อสำหรับการเข็นไปข้างหน้า ในขณะเดียวกับรถเข็นช่วยเดินบางรุ่นจะมีเบรกในตัว เพื่อให้ผู้ใช้งานควบคุมการหยุดได้ด้วยตัวเอง แต่การใช้งานรถเข็นช่วยเดินควรที่จะใช้งานอย่างระมัดระวัง และควรค่อย ๆ ก้าวเดินแบบช้า ๆ เพื่อป้องกันการลื่นล้มนั่นเอง

รถเข็นสำหรับฝึกเดิน (Rollator) ล้อ 8 นิ้ว
คลิกซื้อสินค้า คลิกดูรถเข็นช่วยเดิน

วิธีเลือกซื้อที่ช่วยพยุงเดิน

ในการเลือกซื้อที่ช่วยพยุงเดินนั้น ผู้ซื้ออุปกรณ์ช่วยพยุงควรจะต้องคำนึงถึงอาการป่วยหรือบาดเจ็บของผู้ใช้งานเป็นอันดับแรก  เพราะหากเลือกประเภทที่ช่วยพยุงเดินไม่เหมาะกับอาการของผู้ป่วย อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ มิหนำซ้ำจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้ นอกจากนี้การเลือกซื้อที่ช่วยพยุงเดินยังต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ความสูง และน้ำหนักของอุปกรณ์พยุงเดิน ว่ามีความสูงที่พอดีกับผู้ใช้ไหมหรือมีน้ำหนักมากเกินไปรึป่าว

ซึ่งหากที่ช่วยพยุงเดินไม่พอดีหรือไม่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ก็อาจทำให้ใช้งานที่ช่วยเดินได้ไม่สะดวก รวมถึงในกรณีที่ผู้ใช้ไม่สามารถยกอุปกรณ์พยุงเดินเองได้จากปัญหาด้านกล้ามเนื้อบริเวณแขน ก็ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่บริเวณส่วนปลายของฐานมีลักษณะเป็นล้อเลื่อน จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทางของที่ช่วยพยุงเดินเองได้โดยไม่จำเป็นต้องยกขึ้น และที่สำคัญเลยจะต้องเลือกซื้อที่ช่วยพยุงเดินในราคาที่สมเหตุสมผลกับการใช้งานด้วย

ที่ช่วยพยุงเดิน แบบไหนดี เหมาะกับใครบ้าง

เทคนิคการเลือกที่ช่วยพยุงเดิน คือ การเลือกให้เหมาะกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประเภทที่ช่วยเดิน ขนาดความสูง รวมถึงน้ำหนักของผู้ป่วย ซึ่งสามารถลองดูข้อมูลด้านล่างเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ ดังนี้

  • ไม้เท้า 3-4 ขา : เหมาะกับผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อม
  • ไม้เท้ารูปต้ว T : เหมาะสำหรับผู้สูงอายุทั่วไป ที่ยังสามารถเดินทรงตัวได้ปกติ
  • ไม้ค้ำยันศอก : เหมาะกับผู้ป่วยที่ขาแพลง ขาหัก เป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่าง รวมถึงผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อม
  • ไม้ค้ำยันรักแร้ : เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ขาหัก ขาแพลง รวมถึงมีอาการอัมพาตครึ่งท่อนล่าง
  • วอคเกอร์ ( Walker ) : เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอัมพาตครึ่งซีก ข้อสะโพกเสื่อม โรครูมาตอยด์ 
  • รถเข็นช่วยเดิน : เหมาะกับผู้สูงอายุทั่วไป ที่ยังสามารถเดินประครองตัวได้ปกติ

ถึงแม้ว่า ที่ช่วยพยุงเดิน จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการทรงตัวและฟื้นฟูร่างกายของผู้ใช้ แต่หากขาดข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจเลือกที่ช่วยพยุงเดิน อาจทำให้ได้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่ออาการป่วยของผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจเลือกที่ช่วยพยุงเดิน และควรเลือกซื้อที่ช่วยเดินกับแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือด้วย

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ ที่ช่วยพยุงเดิน หรือ อุปกรณ์ช่วยเดิน แบบต่าง ๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามทางทีมงาน Rakmor ได้ตามที่ต้องการ พร้อมจัดหา จัดจำหน่ายที่ช่วยพยุงเดินแบบครบวงจรให้ท่านในราคาพิเศษ ที่ส่งตรงจากโรงงานผลิตอุปกรณ์พยุงเดินโดยเฉพาะ !

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *