การใช้งานหูฟังทางการแพทย์ หรือ หูฟังสเต็ทโตสโคป ( stethoscope ) หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าค่อนข้างยากและผู้ที่จะใช้ได้ก็คือแพทย์ คุณหมอหรือพยาบาลเท่านั้น จริง ๆ แล้วคนปกติทั่วไปก็สามารถใช้ได้ ในกรณีที่คุณต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้านหรือที่บ้านมีคนไข้ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด การใช้หูฟังทางการแพทย์นั้นมีประโยชน์อย่างมากทำให้คุณสามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้ในเบื้องต้น แม้ไม่ใช่คุณหมอหรือแพทย์ก็ตาม หากเกิดความผิดปกติจะได้พาผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน วันนี้เราก็มี 4 วิธีใช้หูฟังทางการแพทย์ง่ายๆ มาแนะนำ เพื่อใช้สำหรับฟังเสียงปอดและหัวใจ
หูฟังทางการแพทย์ ใช้ยากไหม
หูฟังทางการแพทย์ ถามว่าใช้ยากไหม ?
จริง ๆ แล้วหูฟังทางการแพทย์ก็ไม่ได้ใช้ยากเลย แต่คุณก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจและใช้งานให้ถูกต้อง เพื่อการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เมื่อใช้หูฟังทางการแพทย์เป็น ใช้ถูกวิธี คุณก็สามารถคาดเดาอาการของผู้ป่วยได้ในเบื้องต้นและสามารถพาผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ใช้หูฟังทางการแพทย์ เพื่อตรวจเช็คอะไร
หูฟังทางการแพทย์สามารถใช้ฟังเสียงอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย โดยหลักๆ แล้วจะใช้ฟังเสียงปอด หัวใจ และลำไส้เป็นหลัก หูฟังทางการแพทย์คืออุปกรณ์ที่หลาย ๆ คนมักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เวลาที่ต้องไปโรงพยาบาลหรือเข้าพบแพทย์ คุณหมอจะมีหูฟังทางการแพทย์เป็นอุปกรณ์พกติดตัวตลอดเวลา เพื่อใช้วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยในเบื้องต้น
วิธีใช้หูฟังทางการแพทย์ หรือ หูฟังสเต็ทโตสโคป ( stethoscope )
วิธีการใช้หูฟังทางการแพทย์ มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน ซึ่งหากคุณทำตามคำแนะนำของเรา เชื่อว่าจะสามารถใช้หูฟังทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ส่วนจะมีขั้นตอนหรือวิธีการใช้หูฟังทางการแพทย์อย่างไร ตามชมพร้อมกันเลย
1.เช็คความเรียบร้อยก่อนใช้งาน
ก่อนใช้งานควรตรวจหารอยรั่ว ให้คุณลองเคาะเบาๆ ที่ไดอะแฟรมแล้วฟังเสียง หากไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยก็มีโอกาสที่จะเกิดรอยรั่วได้ อย่าลืมปรับหูฟังให้พอดีกับหูหรือกระชับพอดีกัน ซึ่งหูฟังจะต้องพอดีกับหูอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อสร้างการแยกเสียงรอบข้าง บางรุ่นมีการออกแบบหูฟังให้สามารถปรับได้ เพื่อการสวมใส่ที่พอดี อย่างไรก็ตาม แนะนำให้มองหาหูฟังทางการแพทย์ที่ผลิตมาอย่างดีมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้การตรวจฟังเสียงมีความแม่นยำมากที่สุด
2.การใส่หูฟังทางการแพทย์
เทคนิคการใส่หูฟังทางการแพทย์ ก็คือ การจับบริเวณหูฟังให้ชี้ไปทางด้านหน้าหรือชี้ออกไปข้างนอกออกจากตัวผู้สวมใส่ และสวมใส่เข้าไปในหูทั้งสองข้าง วิธีนี้จะช่วยให้กระชับมากขึ้น ทำให้สามารถฟังเสียงอวัยวะภายในร่างกายได้อย่างชัดเจน ถูกต้องและแม่นยำ
3.การใช้หูฟังทางการแพทย์ เพื่อฟังเสียงปอด
การใช้หูฟังทางการแพทย์ เพื่อฟังเสียงปอดของคนไข้ โดยหลักๆ แล้วจะใช้ฟังด้วยกัน 4 จุด จุดแรก ก็คือ การฟังเสียงที่บริเวณใต้ไหปลาร้าด้านซ้าย โดยให้คนไข้หายใจเข้าลึกๆ และหายใจออกยาวๆ หากอยู่ในภาวะปกติจะเป็นเสียงหายใจธรรมดาไม่มีเสียงครืดคราดใดๆ
ในกรณีที่มีเสียงครืดคราด อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยมีเสมหะติดคอ แต่ถ้ามีเสียงวี๊ด อาจเกิดภาวะหลอดลมตีบได้ จุดที่ 2 ก็คือการฟังเสียงที่บริเวณใต้ไหปลาร้าด้านขวาสามารถใช้ฟังเสียงปอดได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ส่วนจุดที่ 3 ก็คือบริเวณที่อยู่เหนือลิ้นปี่เล็กน้อยทางด้านซ้ายมือหรือตรงบริเวณอกบุ๋ม ในกรณีที่เป็นผู้ชายจะเห็นได้ชัด จุดสุดท้ายก็คือตรงบริเวณที่อยู่เหนือลิ้นปี่เล็กน้อยเช่นเดียวกันแต่อยู่ทางด้านขวามือ ในกรณีที่คนไข้อยู่ในท่านอนหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงสามารถใช้หูฟังทางการแพทย์เพื่อฟังเสียงบริเวณใต้ราวนมได้
📄 คลิกอ่านบทความแนะนำ
- 7 วิธีขับเสมหะออกจากคอ ให้ปลอดโปร่ง ต้องทำอย่างไร พร้อมเผยสาเหตุที่ทำให้เกิดสเลดในคอ !
- วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร ให้ปลอดภัยและเจ็บน้อยที่สุด !
- เคล็ดลับ วิธีดูดเสมหะให้ทารกอายุ 1 เดือน ต้องทำอย่างไร ?ให้ปลอดภัยและไม่อันตราย บอกเลยว่าง่ายนิดเดียว
4.การใช้หูฟังทางการแพทย์ เพื่อฟังเสียงหัวใจ
การใช้หูฟังทางการแพทย์เพื่อฟังเสียงหัวใจ โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้ฟังทั้งหมด 4 จุดหลักๆ เช่นเดียวกัน จุดที่ 1 ก็คือบริเวณซี่โครงที่อยู่ทางด้านซ้ายนับลงมาจะอยู่ซี่โครงที่สอง ส่วนจุดที่สองก็คือบริเวณซี่โครงเช่นเดียวกันแต่จะอยู่ทางด้านขวาให้นับลงมาซึ่งจะอยู่ตรงซี่โครงที่สอง จุดที่ 3 ก็คือให้นับลงมาอยู่ซี่โครงที่ 5 ส่วนจุดสุดท้ายก็คือบริเวณใต้ราวนม อย่างไรก็ตาม การฟังเสียงหัวใจจะเน้นการฟังที่ฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นฝั่งเดียวกันกับหัวใจเป็นหลัก
ข้อควรระวังในการใช้ หูฟังทางการแพทย์
- ก่อนใช้งานหูฟังทางการแพทย์ ควรมีการตรวจสอบรอยรั่วหรือรอยชำรุดเสียหายให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ
- สวมใส่หูฟังทางการแพทย์ ให้กระชับใบหู ไม่แน่นหรือไม่หลวมจนเกินไป เพื่อให้การฟังเสียงมีประสิทธิภาพและชัดเจนมากขึ้น
- การใช้ทางการแพทย์ ฟังเสียงอวัยวะภายใน ไดอะแฟรมจะต้องแนบติดกับเนื้อของผู้ป่วย เพื่อให้การฟังเสียงชัดเจนถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ก็คือ 4 วิธีการใช้หูฟังทางการแพทย์ เพื่อใช้ฟังเสียงปอดและหัวใจที่เราเอามาแนะนำ RAKMOR หวังว่าข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกๆ หรือคนที่กำลังศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการใช้งานหูฟังทางการแพทย์ เพื่อการใช้งานถูกต้อง นำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical