เครื่องวัดความดันดิจิตอล คืออะไร การใช้งานแตกต่างจากเครื่องวัดความดันแบบอื่นอย่างไร

เครื่องวัดความดันดิจิตอล คืออะไร การใช้งานแตกต่างจากเครื่องวัดความดันแบบอื่นอย่างไร

เครื่องวัดความดันดิจิตอล ถือได้ว่าเป็นเครื่องวัดความดันที่ใช้งานง่ายมาก ๆ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ขนาดเล็กกะทัดรัด จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เครื่องวัดความดันดิจิตอลมีความทันสมัยเพราะเป็นระบบอัตโนมัติ ทำให้มีขั้นตอนการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ผู้ช่วย คุณจะสามารถเห็นเครื่องวัดความดันดิจิตอลได้ตามสถานพยาบาลทั่วไป คลินิก

นอกจากนั้นเครื่องวัดความดันดิจิตอลยังเหมาะที่จะมีติดบ้านไว้ด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเครื่องวัดความดันดิจิตอลให้มากขึ้น ว่าคืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน รวมถึงวิธีเก็บรักษาเครื่องวัดความดันดิจิตอลด้วย ตามไปดูกันเลย

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจ ซ่อน

เครื่องวัดความดันดิจิตอล คืออะไร

เครื่องวัดความดันดิจิตอล คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้วัดค่าความดันของกระแสเลือดที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ เมื่อหัวใจเกิดการบีบตัวจะได้ค่าความดันบน (Systolic Blood Pressure) ในขณะที่หัวใจเกิดการคลายตัวจะได้ค่าความดันล่าง (Diastolic Blood Pressure)

อย่างที่บอกว่าค่าความดันบนเป็นค่าความดันของกระแสเดือดขณะที่หัวใจบีบตัว ดังนั้นค่าตัวเลขบนที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าตัวเลขล่างเป็นค่าความดันของกระแสเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ดังนั้น ค่าตัวเลขล่างที่เหมาะสมต้องน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรน้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระดับค่าความดันปกติ แต่ละช่วงวัย มีเกณฑ์ตารางค่าความดันเลือดเท่าไหร่บ้าง ?

หากค่าตัวเลขทั้งบนและล่างสูงหรือต่ำเกินไป อาจเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตต่ำหรือสูงนั่นเอง หากปล่อยทิ้งไว้นานภาวะความดันโลหิตที่ผิดปกติเหล่านี้จะนำพาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดแตก ตีบ ตันเป็นสาเหตุหลักของ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเรื้อรัง ไตวาย ฯลฯ

ข้อดี-ข้อเสีย ของเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล มีอะไรบ้าง

ข้อดี ของเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล

  • ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา
  • ทันสมัย ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
  • สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้แม่นยำ
  • สามารถบันทึกข้อมูลและดูค่าย้อนหลังได้
  • สามารถพิมพ์ผลที่วัดได้ สะดวกต่อการอ่านค่า
  • ใช้งานได้ที่บ้าน ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

ข้อเสีย ของเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล

  • มีราคาสูงมากกว่าเครื่องวัดความดันประเภทอื่นๆ
  • หากวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชำรุดเสียหาย อาจระบุค่าที่ผิดพลาด

เครื่องวัดความดันดิจิตอล เหมาะสมการใช้งานแบบไหนบ้าง

1.เครื่องวัดความดันดิจิตอล เหมาะกับการใช้งานภายในบ้าน

เครื่องวัดความดันดิจิตอลเหมาะกับการใช้งานภายในบ้าน ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้ช่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเฝ้าระวังอาการ บางครั้งการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุไปที่โรงพยาบาลเพื่อวัดความดัน อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและทำให้เสียเวลา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะมีเครื่องวัดความดันดิจิตอลติดบ้านไว้ เพื่อช่วยเช็คว่าค่าความดันอยู่ในระดับผิดปกติหรือไม่

2.เครื่องวัดความดันดิจิตอลเหมาะกับการพกพา

เนื่องจากเครื่องวัดความดันดิจิตอลมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา หยิบจับง่าย จึงเหมาะกับการพกพาและสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย สามารถนำไปใช้งานได้บนยานพาหนะ แถมการจัดเก็บยังไม่เปลืองพื้นที่ด้วย เหมาะกับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ช่วยเฝ้าระวังอาการ เรียกได้ว่าสามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา

คลิกอ่านเพิ่มเติม : มาตรฐานเครื่องวัดความดัน ควรเป็นแบบไหนดี เลือกซื้ออย่างไรดีให้ได้คุณภาพ วัดค่าได้แม่นยำ

3.เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่ยอมไปโรงพยาบาล

บ้านไหนที่มีผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัย ซึ่งต้องเฝ้าระวังอาการตลอดเวลา บางครั้งอาจพบปัญหาผู้สูงอายุดื้อ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล ถ้าอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการเล็กน้อย ดังนั้นเครื่องวัดความดันดิจิตอลจึงเข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ได้ดีมากๆ  

เครื่องวัดความดันดิจิตอล แตกต่างจากเครื่องวัดความดันแบบอื่น ๆ อย่างไร

เครื่องวัดความดัน จริง ๆ ไม่ได้มีแค่เครื่องวัดความดันดิจิตอลเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเครื่องวัดความดันแบบอื่นๆ โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ เครื่องวัดความดันชนิดปรอท  เครื่องวัดความดันชนิดขดลวด และเครื่องวัดความดันดิจิตอล โดยเครื่องวัดความดันดิจิตอลถือได้ว่าเป็นเครื่องวัดความดันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน อะไรที่ทำให้เครื่องวัดความดันดิจิตอลได้รับความนิยมและแตกต่างจากเครื่องวัดความดันชนิดอื่นอย่างไร มาดูกัน

1.ทันสมัยมากกว่า

เครื่องวัดความดันดิจิตอล มีความทันสมัย ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ มีหน้าจอแสดงผลการวัดค่าความดัน รวมถึงอัตราการเต้นของชีพจรที่ชัดเจน บางรุ่นสามารถพิมพ์ค่าที่วัดได้ออกมา ง่ายต่อการจำหรือการจดบันทึก ในขณะที่บางรุ่นก็สามารถดูค่าย้อนหลังได้ด้วย

2.พกพาง่าย

เครื่องวัดความดันดิจิตอล มีขนาดกะทัดรัด แถมยังน้ำหนักเบา จึงสะดวกต่อการพกพา ใช้งานที่บ้านก็ได้ หรือจะใช้ในรถยนต์ก็สะดวก จัดเก็บง่ายไม่เปลืองพื้นที่

3.ใช้งานด้วยตนเอง

เครื่องวัดความดันดิจิตอลสามารถใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้ช่วย ลดภาระของผู้ดูแลได้เยอะ บางรุ่นมีหน้าจอใหญ่ แสดงผลได้ชัดเจนเหมาะกับผู้สูงอายุที่สายตาไม่ค่อยดี

4.ปลอดภัยต่อการใช้งาน

เครื่องวัดความดันดิจิตอลสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไม่มีอันตราย ต่างจากเครื่องวัดความดันแบบปรอท ที่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปรอทแตก เพราะสารปรอทอาจมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพร่างกายได้

วิธีเก็บรักษาเครื่องวัดความดันดิจิตอล หลังการใช้งาน

  • หลังการใช้งานให้หมั่นดูแลทำความสะอาดเครื่อง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเปล่าที่สะอาดเช็ด ตามด้วยผ้าแห้ง ห้ามใช้ทินเนอร์ หรือสารรุนแรงชนิดอื่นๆ เช็ดทำความสะอาดเด็ดขาด
  • ควรเก็บเครื่องวัดความดันดิจิตอล จัดเก็บให้มิดชิดและจัดเก็บไว้ในที่ร่ม ห้ามวางเครื่องวัดความดันดิจิตอลไว้ในสถานที่ที่มีแสงแดดจ้า หรือห้ามเก็บไว้ในรถยนต์ที่จอดตากแดด ตลอดจนอุณหภูมิสูงและความชื้นสูง มีฝุ่น
  • ระมัดระวัง ไม่ให้เครื่องวัดความดันดิจิตอลตกหล่น กระแทกพื้น ได้รับความเสียหาย
  • หากไม่ได้ใช้เครื่องวัดความดันดิจิตอลเป็นระยะเวลานาน ให้ถอดแบตเตอรี่ออก
  • ห้ามดัดแปลงหรือแยกชิ้นส่วนของเครื่องวัดความดันดิจิตอล รวมถึงปลอกสวมแขน
  • หากไม่ได้พันผ้าที่แขน ไม่ควรกดปุ่มเปิด-ปิดเครื่องเพราะจะทำให้เครื่องอ่านค่าผิด
  • ศึกษาคู่มือ วิธีการใช้งานเครื่องวัดความดันดิจิตอลแต่ละรุ่น เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เครื่องวัดความดันดิจิตอล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าความดันรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ มีความทันสมัย ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เป็นเครื่องวัดความดันที่ขายดีและได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเลือกซื้อที่วัดความดันดิจิตอลไปใช้งานอย่าลืมเลือกซื้อจากร้านขายอุปกรณ์การแพทย์โดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสินค้าที่มีรับประกันการใช้งาน

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *