ไข้เลือดออก อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้ง่ายๆ

ไข้เลือดออก

เชื่อว่าหลายคนรู้จักไข้เลือดออก บางคนเคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อกันที่ระบาดหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน รู้หรือไม่ว่ามีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก จะทำให้เราไม่ตื่นตระหนกแต่รู้จักตระหนักมากขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้เลือดออก การป้องไข้เลือดออกและการรักษาไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ได้แก่  DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายไปดูดเลือดของผู้ที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8 ถึง 12 วัน หลังจากนั้นยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีจะไปกัดคนอื่นๆ ต่อไปเชื้อไวรัสก็จะแพร่เข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนยุงลายกัดจนในท้ายที่สุดแล้วก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์นั้นๆ หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปจากครั้งแรกก็จะสามารถกลับมาเป็นโรคไข้เลือดออกได้อีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วอาการของโรถครั้งที่ 2 มักจะรุนแรงกว่าครั้งแรกที่เกิดขึ้นเสมอ ในแต่ละปีพบว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนสลับกันไปและมีเชื้อเด่นที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปี ทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ

ไข้เลือดออกระยะ

อาการไข้เลือดออกระยะแรก (ระยะไข้)

สำหรับอาการไข้เลือดออกระยะแรกหรือเรียกว่าระยะไข้ ประมาณ 2 ถึง 7 วันผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร มักมีหน้าแดงหรืออาจมีผื่น ตลอดจนจุดเลือดออกตามบริเวณลำตัวแขน และขา

อาการไข้เลือดออกระยะที่สอง (ระยะช็อค)

ไข้เลือดออกในระยะที่ 2 หรือระยะช็อค โดยระยะนี้ไข้เริ่มลดลงแล้วแต่ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า เหงื่อออก มือและเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เต้นเร็ว มีอาการปวดท้องร่วมด้วยโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา มีปัสสาวะออกเล็กน้อย อาจมีเลือดออกง่ายเช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนและมีเลือดออก อุจจาระเป็นสีดำ ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำและช็อคได้ ถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้เลยทีเดียว สำหรับระยะช็อคนี้กินเวลาไปประมาณ 24 ถึง 48 ชั่วโมง

อาการไข้เลือดออกระยะสาม (ระยะฟื้นตัว)

อาการไข้เลือดออกระยะที่ 3 หรือระยะฟื้นตัว ในระยะนี้อาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยสามารถกลับมารับประทานอาหารหรือรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น แต่ความดันโลหิตอาจสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง มีอาการปัสสาวะมากขึ้น บางรายจะมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามบริเวณลำตัว 

อาการไข้เลือดออกเป็นอย่างไร

อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่

อาการไข้เลือดออกในผู้ใหญ่มักมีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2 ถึง 7 วัน อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารร่วมด้วย อาการไข้เลือดออกบางรายหน้าแดงอาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง ปวดท้องแบบรุนแรง บางร้ายแรงมากมีไข้หลายวันเกิด ภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อค 

อาการไข้เลือดออกในเด็ก

อาการไข้เลือดออกในเด็กที่ไม่ใช่เด็กทารกแต่เป็นเด็กโตที่สามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ต้องสังเกต เด็กบางคนแสดงออกอาการออกมาให้เห็นและสามารถอธิบายอาการได้ อย่างเช่น มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อาเจียน อาจพบจ้ำเลือดจุดเลือดบริเวณผิวหนัง อาการไข้เลือดออกในเด็กบางรายมีอุจจาระสีดำ ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกควรพาไปพบแพทย์โดยทันที 

อาการไข้เลือดออกในทารก

สำหรับอาการไข้เลือดออกในทารก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสภายใน 4-10 วันส่วนใหญ่อาการแรกมักไม่ชัดเจนมีอาการใกล้เคียงกับโรคอื่น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการที่ลูกมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสหรือตัวเย็น ไม่ยอมนอน เบื่ออาหาร งอแงผิดปกติ มีภาวะขาดน้ำ ปัสสาวะน้อยหรือมีผื่นแดงตามร่างกาย

การป้องไข้เลือดออก

  • การป้องไข้เลือดออกต้องป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดหรือใช้สารกันยุงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ยุงลายมักกัดในเวลากลางคืนมากกว่าเวลากลางวัน
  • ป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายในบริเวณบ้านหรือบริเวณใกล้เคียง ให้ทำการปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังหรือเททิ้งเพื่อไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่เพาะพันธุ์ได้ เปลี่ยนน้ำในภาชนะ เช่น เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินยุงในอ่างบัวรวม ถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบริเวณบ้านให้สะอาดปราศจากเศษวัตถุที่มีน้ำขัง
  • ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกด้วยสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งมาแล้ว อาจพิจารณาเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในสายพันธุ์อื่นๆ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม : โรคฝีดาษลิงคืออะไร พอจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

การรักษาไข้เลือดออก

ก่อนเข้ารับการรักษาโรคไข้เลือดออก ก็ต้องมีการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก เนื่องจากอาการของโรคไข้เลือดออกในระยะแรกๆ จะคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อหลายโรค ยกตัวอย่างเช่น โรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคไข้จากสาเหตุอื่นๆ ดังนั้น นอกจากการสังเกตอาการรวมถึงการซักประวัติความเป็นอยู่ของผู้ป่วย แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกด้วยการตรวจเพิ่มเติมและตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดด้วย รวมถึงการตรวจภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออก ตรวจ NS1 Ag ต่อเชื้อโดยตรง ตรวจ PCR เพื่อหาเชื้อไวรัสเดงกี

หากพบว่าผู้ป่วยมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามบริเวณลำตัวและจำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นที่บ่งชี้เลยว่าผู้ป่วยรายนั้นติดเชื้อไวรัสเดงกีหรือเป็นโรคไข้เลือดออกแน่นอน แต่ถ้าเกล็ดเลือดลดลงต่ำมาก เม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแดงเข้มข้นขึ้น ร่วมกับความดันโลหิตต่ำและมีชีพจรเบาเร็ว เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการเข้าสู่ระยะไข้เลือดออกที่เป็นระยะช็อค ซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องดูแลผู้ป่วยหนักทันทีทันใด

ส่วนการรักษาโรคไข้เลือดออกนั้นปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถต้านเชื้อไวรัสเดงกีสำหรับโรคไข้เลือดออกได้ การรักษาจึงเป็นไปตามอาการหรือรักษาตามอาการ เพื่อประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยนั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วมากที่สุด ซึ่งในรายที่มีอาการไม่รุนแรงมากไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 ถึง 7 วัน

ขอแนะนำการดูแลอาการในเบื้องต้น ผู้ป่วยควรดื่มน้ำผลไม้หรือดื่มน้ำเกลือแร่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้ไข้ลดลง รับประทานอาหารอ่อน งดเครื่องดื่มที่มีสีคล้ายเลือดเพื่อไม่ให้การวินิจฉัยคาดเคลื่อน รับประทานยาลดไข้เช่น ยาพาราเซตามอลแต่ในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่ม   NSAID  เพราะอาจไปกระตุ้นให้เลือดออกง่ายขึ้นและมากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยอาเจียนมากและปวดท้องมากไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวเย็นเฉียบผิดปกติไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมงจะต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม : PMS คืออะไร อาการเป็นอย่างไรและวิธีรับมือ :

บทสรุป

ทั้งหมดนี้ ก็คือ สาระดีๆ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่เราเอามาฝาก หวังว่ามันจะเป็นแนวทางและทำให้ทุกคนไม่ตื่นตระหนกแต่รู้จักตระหนักมากขึ้น เมื่อมีไข้หรือมีอาการสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือด ออกควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในลำดับต่อไป จริงๆ แล้วเราควรตรวจเช็คตัวเองตั้งแต่เริ่มมีไข้ เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยใช้ เครื่องวัดไข้ หรือปรอทวัดไข้  ปัจจุบันการตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายอาจไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลสามารถใช้เครื่องวัดไข้ทำการเช็คอุณหภูมิของร่างกายได้และหากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดไข้หรือปรอทวัดไข้ ที่มีความแม่นยำสูง ทันสมัย แนะนำซื้อที่ Rakmor  จำหน่ายในราคาถูก ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม สั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์จัดส่งรวดเร็วถึงหน้าบ้านคุณ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *