รู้ไว้! ตอนนอน นอนตะแคงข้างไหนดี ดีต่อร่างกายมากแค่ไหน

นอนตะแคงคือ

การนอนหลับถือเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด เชื่อว่าการนอนของแต่ละคนนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของท่านอน ซึ่งบางคนอาจจะชอบการนอนหงาย บางคนก็ชอบการนอนคว่ำ หรือบางคนชอบการ นอนตะแคง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าท่านอนแต่ละท่านั้นส่งผลต่อการนอนไม่น้อยเลยทีเดียว และรู้หรือไม่ว่าท่านอนที่ดีที่สุดคือท่าไหน มีหลายคนมีความเข้าใจว่าท่านอนที่ดีที่สุดคือท่านอนหงาย แต่ความจริงแล้วคุณรู้หรือไม่ว่าท่านอนที่ดีที่สุด และมีประโยชน์ต่อร่างกายในเวลานอนก็คือ ท่านอนตะแคง แต่จะนอนตะแคงซ้ายหรือขวาดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก 

การนอนตะแคง คืออะไร

การนอนตะแคง คือ ท่านอนที่ดีในการนอนพักผ่อนที่หลายคนให้ความนิยมเพราะมีผลต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้นอนหลับสบาย หรือช่วยในเรื่องของอาการปวดหลังได้ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนอนตะแคงซ้าย เนื่องจากเป็นท่านอนตะแคงที่ดีกว่า แต่การนอนตะแคงที่ดีนั้นควรมีหมอนข้างไว้กอดหรือไว้สำหรับพาดขาด้วยในส่วนของหมอนหนุนหัวก็ไม่ควรต่ำจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อกระดูกต้นคอได้นั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : นอนหลับยากทำยังไงให้หลับสนิท 9 วิธีหลับสนิท

­นอนตะแคงข้างไหนดี แตกต่างกันมั้ย

อาจจะยังคงมีการถกเถียงกันว่า การนอนตะแคงที่ถูกต้อง ควรนอนตะแคงซ้าย หรือ นอนตะแคงขวา ซึ่งก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนเลยว่า การนอนตะแคงทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอยู่บ้างก็คือ การนอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ท่านี้เวลานอนอาจจะต้องมีหมอนข้างไว้กอดและพาดขาในขณะที่นอนหลับด้วย ส่วนท่านอนตะแคงขวานั้น ถือเป็นท่านอนที่ดีเช่นกัน เมื่อเทียบกับท่านอนอื่น ๆ เพราะช่วยในเรื่องของการเต้นของหัวใจที่สะดวก และยังช่วยในเรื่องของอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้อาหารไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะนานจนเกินไป นอกจากนี้ก็ยังเป็นท่านอนที่สามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ด้วยเช่นกัน แต่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัวไหล่ขวาได้ ส่วนใครที่ใช้หมอนหนุนที่ต่ำจนเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดคอได้

ท่านอนตะแคงซ้ายมีอะไรบ้างและประโยชน์ของการนอนตะแคงซ้าย

ท่านอนตะแคงที่ถูกต้อง จะมีอยู่ 3 ท่าด้วยกัน โดยแต่ละท่านอนตะแคง ก็จะมีประโยชน์ดังนี้  

1.นอนขดตัวเหมือนทารก 

คือ การนอนในลักษณะการขดตัวเอาเข่าชิดกับหน้าอก กอดเข่าตัวเองไว้ เป็นท่านอนที่คล้ายกับท่านอนของทารกในครรภ์ ช่วยในเรื่องของอาการปวดหลัง เรื้อรัง ทำให้รู้สึกดีเมื่อเวลานอนตะแคง แนะนำให้นอนตะแคงซ้ายจะดีกว่า 

2.นอนตะแคงแบบขอนไม้

คือการนอนตะแคงโดยการยืดขาตรง และปล่อยแขนแนบไปตามลำตัวตรงทั้งสองข้าง ท่านี้ช่วยในเรื่องของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลิ้นลงไปในลำคอและปิดทางเดินหายใจ ช่วยป้องกันไม่ให้นอนกรนได้

3.นอนตะแคงเปิดข้าง

คือ การนอนตะแคงโดยยืดขาตรง และยืดแขนออกไปทางด้านหน้า ที่มีลักษณะคล้ายกับการเอื้อมไปหาคนอื่น ท่านี้ช่วยในเรื่องของการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ และช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น แก้ปัญหานอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี

บทความที่น่าสนใจ : อาการนอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง?

ทำไมถึงไม่ควรนอนตะแคงขวา เสี่ยงกรดไหลย้อนจริงหรือไม่

นอนตะแคงขวา เสี่ยงเป็นกรดไหลย้อนจริงหรือไม่  กรดไหลย้อนนอนตะแคง สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะการนอนตะแคงขวา และในหลายคนก็มักจะมีอาการรุนแรง เพราะมีปัจจัยการเกิดมาจากหลาย ๆ ปัจจัยอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงการนอนตะแคงขาว แต่ให้เปลี่ยนมานอนตะแคงซ้ายแทน เพราะสามารถช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายจะทำให้กระเพาะอาหารและน้ำกรดอยู่ต่ำกว่าหลอดอาหารขณะที่เรากำลังนอนหลับ ส่งผลทำให้กรดไม่สามารถไหลย้อนกลับไปได้นั่นเอง ส่วนใครที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วนอกจากการนอนตะแคงซ้ายจะช่วยบรรเทาและลดความเสี่ยงได้แล้ว ควรรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อการมีสุขภาพที่ดีนั่นเอง 

การ นอนตะแคง จากภาพโดยรวมแล้วก็จะเห็นได้ว่าเป็นการนอนที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ หรือมีอาการนอนแล้วรู้สึกปวดหลัง ลองเปลี่ยนมานอนตะแคงดู เพราะสามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ ได้ดีเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ซึ่งข้อเสียที่ได้จากการนอนตะแคงก็อาจจะมีในเรื่องของ การปวดไหล่ เนื่องจากการนอนตะแคงจะมีการทิ้งน้ำหนักตัวไปที่ข้างลำตัวหลายคนอาจปวดเมื่อยจากการนอนท่านี้ได้ นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการปวดกรามเพราะการนอนตะแคงนั้นอาจเพิ่มแรงกดทับที่บริเวณกรามขณะนอนหลับทำให้มีอาการปวดกรามได้นั่นเอง ดังนั้นเพื่อการนอนตะแคงที่สบายและเกิดประโยชน์มากที่สุดควรมีหมอนที่พอดี มีหมอนข้างไว้สำหรับพาดขา หรือหากเกิดอาการปวดเมื่อยขณะนอนหลับควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เพื่อการนอนหลับที่สบายที่สุด

——- 

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *