ออกซิเจน (Oxygen) คืออะไร? ทำหน้าที่อะไรบ้าง ก๊าซ O2 มีความสำคัญกับร่างกายอย่างไร

ออกซิเจน คือธาตุที่ร่างกายขาดไม่ได้ อยู่ในอากาศที่เราหายใจ

ออกซิเจน คืออะไร

ออกซิเจน คือ ธาตุทางเคมีที่แทนค่าด้วยตัว O2 มีเลขอะตอมคือ 8 ความหนาแน่นจะอยู่ที่ 1.43 กรัมต่อลิตร มีน้ำหนักมากกว่าอากาศเล็กน้อย เป็นธาตุที่มีการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมาอย่างยาวนานหลายล้านปี สามารถพบก๊าซออกซิเจนได้ในอากาศถึง 20.8% ออกซิเจนจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติและไม่สามารถติดไฟได้

ก๊าซออกซิเจน O2 เกิดจากอะไร

ออกซิเจน หรือ O2 คือ ก๊าซที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชหลากหลายชนิด ก่อนจะมีการลอยตัวอยู่ในอากาศและกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์รวมไปถึงมนุษย์ สำคัญขนาดที่ว่าถ้าหากร่างกายขาดออกซิเจน หรือมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ก็อาจจะทำให้เซลล์ในร่างกายตาย และอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งแม้ว่าจะมีโครงสร้างที่คล้ายกับโอโซน (O3) ในชั้นบรรยากาศ แต่จริงๆ แล้วทั้งสองมีลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างกัน

ออกซิเจน (Oxygen) คือธาตุที่มีลักษณะอย่างไร

ปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะรู้จักออกซิเจนเพียงแค่รูปแบบเดียว นั่นก็คือรูปแบบของแก๊สออกซิเจนที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วออกซิเจนนั้นมีอยู่ 3 สถานะ โดยจะสามารถจำแนกสถานะออกมาได้ดังนี้

  • ออกซิเจนในสถานะของก๊าซ เป็นออกซิเจนที่อยู่ในอากาศ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  
  • ออกซิเจนในสถานะของเหลว พบได้ในอุณหภูมิประมาณ -182.5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า โดยออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวสีฟ้าอ่อน
  • ออกซิเจนในสถานะของแข็ง พบได้ในอุณหภูมิประมาณ -218.4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า โดยออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน
ออกซิเจน คือธาตุที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงของพืช ส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานะก๊าซ ลอยอยู่ในอากาศ

ออกซิเจนทำหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรกับร่างกาย

Oxygen คือองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย กระบวนการการทำงานของออกซิเจนจะเริ่มจากการที่มีการหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปสู่ปอด หลังจากนั้นออกซิเจนจะมีแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน โดยให้ก๊าซออกซิเจนไปจับตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง แล้วส่งต่อเม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนไปให้หัวใจและอวัยวะต่างๆในร่างกาย ในส่วนของหน้าที่ออกซิเจน ออกซิเจนจะทำหน้าที่ที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ซึ่งสามารถอธิบายหน้าที่ต่างๆ ได้ดังนี้

  • ออกซิเจนทำหน้าที่ช่วยในการรักษาเซลล์ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์สมอง ให้มีชีวิตอยู่ต่อได้
  • ออกซิเจน (Oxygen) มีส่วนสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย
  • ออกซิเจนทำหน้าที่สังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินให้กับร่างกาย
  • ออกซิเจนทำหน้าที่ในการมอบความสดชื่นให้กับร่างกาย

ค่าออกซิเจนปกติในร่างกาย ควรอยู่ที่เท่าไหร่

สำหรับค่าออกซิเจนปกติในร่างกายหรือเรียกอีกอย่างว่าค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ในระดับปกติจะอยู่ที่ 96-99% เป็นค่าออกซิเจนที่เหมาะสมและดีที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ เพราะจะทำให้การทำงานของสมองทำงานดีขึ้น ช่วยให้ผิวพรรณดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ถ้าหากว่าค่าออกซิเจนในร่างกายต่ำกว่านี้ จะถือว่ามีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่งผลเกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคโลหิตจาง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดบวม เป็นต้น

📌คลิกอ่านเพิ่มเติม: 9 วิธีการดูแลรักษาปอด บริหารปอดอย่างไรให้แข็งแรง ก่อนที่จะสายเกินไป

ก๊าซออกซิเจน (O2) จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีปริมาณออกซิเจนในร่างกายน้อย

ทำไมถึงต้องให้ก๊าซออกซิเจนกับผู้ป่วย

สาเหตุที่ต้องมีการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย มีปัจจัยมาจากหลายอย่าง เช่น ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับออกซิเจนได้น้อยกว่าคนปกติ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจทำงานไม่ได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นคนในกลุ่มเสี่ยงที่เสี่ยงต่อการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งการมีออกซิเจนในเลือดต่ำถือว่าเป็นเรื่องที่อันตราย เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดโรคอย่างอื่นตามมาได้

อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับให้ออกซิเจน มีอะไรบ้าง?

1.ถังออกซิเจน

ถังออกซิเจน คือถังที่มีการบรรจุก๊าซออกซิเจนเข้าไปในถัง มีลักษณะเป็นถังเหล็ก รูปทรงยาว ปัจจุบันมีอยู่หลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยอัตราความจุออกซิเจนก็แตกต่างกันไปตามขนาดและการใช้งาน ถังออกซิเจนมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับถังไปยังผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนจากถัง มีเกจอ่านค่า มีตัวปรับที่สามารถปรับอัตราการไหลของออกซิเจนได้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออกซิเจนตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

📌คลิกอ่านเพิ่มเติม: อุปกรณ์ถังออกซิเจน มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? ที่สำคัญต่อการให้ออกซิเจนผู้ป่วย

ถังออกซิเจนเป็นอุปกรณ์สำหรับให้ Oxygen กับผู้ป่วย

2.เครื่องผลิตออกซิเจน

เครื่องผลิตออกซิเจน คือหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องได้รับออกซิเจนมากกว่าคนปกติ ลักษณะภายนอกของเครื่องผลิตออกซิเจนจะมีขนาดที่กระทัดรัด มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนการทำงาน สามารถผลิตออกซิเจนได้ตลอดเวลา สะดวกสบาย ไม่ต้องเปลี่ยนถังหรือเติมออกซิเจนเหมือนกับถังออกซิเจน สำหรับเครื่องผลิตออกซิเจนเหมาะกับคนที่ต้องได้รับออกซิเจนที่เหมาะสมหรืออาจต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผู้สูงอายุที่หายใจลำบาก เป็นต้น

📌คลิกอ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 7 เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อไหนดี มีทั้งแบบพกพาและแบบตั้งโต๊ะ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

เครื่องผลิตออกซิเจน เป็นเครื่องให้ออกซิเจน O2 ที่ได้รับความนิยม เพราะสะดวก ใช้งานง่าย

3.ออกซิเจนกระป๋อง

ออกซิเจนกระป๋อง คืออุปกรณ์ช่วยหายใจที่มีการอัดออกซิเจนบริสุทธิ์ออกมาในรูปแบบของกระป๋อง ลักษณะคล้ายกับกระป๋องสเปรย์ทั่วไป สามารถใช้งานได้ง่าย มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงใช้เติมออกซิเจนให้กับร่างกายสำหรับผู้ที่เล่นกีฬาหนัก ดังนั้นจึงเหมาะกับทั้งผู้ป่วย คนที่เล่นกีฬา รวมไปถึงผู้ที่รู้สึกอ่อนล้า ต้องการความสดชื่นให้กับร่างกาย

จะเห็นได้ว่า ออกซิเจน คือ ธาตุที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์อย่างเราๆเองก็ตาม แม้ว่าออกซิเจนจะไม่สามารถพบเห็นด้วยตาเปล่า แต่ประโยชน์ของออกซิเจนสามารถพบเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับร่างกายมนุษย์ที่ต้องใช้ออกซิเจนหล่อเลี้ยงร่างกาย เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ทำให้สามารถนำออกซิเจนเข้ามาอยู่ในรูปของอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นถังออกซิเจน เครื่องผลิตออกซิเจน ออกซิเจนกระป๋อง ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออกซิเจนเป็นอย่างยิ่ง

– – – – – – –

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/

โทรติดต่อ : 062-696-8628

Line@ : @Rakmor

FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *