ออกซิเจนบำบัด แนวทางการดูแลสุขภาพ และรักษาผู้ป่วยด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์

ออกซิเจนบำบัด คืออะไร ช่วยรักษาอาการป่วยได้จริงไหม

ออกซิเจนบำบัด

ออกซิเจนบำบัด (Hyperbaric Oxygen Therapy) คือ วิธีการรักษาและฟื้นฟูร่างกายด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัย จึงสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะโรคที่ก่อให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ อย่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งจะใช้หลักการส่งออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกาย ผ่านระบบไหลเวียนเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ออกซิเจนบำบัด มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

นอกจากการทำออกซิเจนบำบัดจะช่วยรักษาผู้ที่มีปัญหาขาดออกซิเจนหรือมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ให้สามารถหายใจได้อย่างสะดวกและรู้สึกสดชื่นมากขึ้นแล้ว การบำบัดด้วยออกซิเจนก็ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง ดังนี้

  • ช่วยลดความเครียด และลดความอ่อนล้าของร่างกาย
  • ช่วยทำให้ผู้ที่มีความรู้สึกหงุดหงิดง่ายหรือมักกระวนกระวายใจง่าย รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ที่ใช้ในการเจริญเติบโตทดแทนเซลล์ทั่วๆ ไปของร่างกายมนุษย์
  • ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
  • ช่วยทำให้ร่างกายมีระบบไหลเวียนเลือดที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการทำออกซิเจนบำบัด มีอะไรบ้าง

อาการแบบไหนบ้าง ที่ควรทำออกซิเจนบำบัด

สำหรับลักษณะอาการของผู้ที่ควรทำออกซิเจนบำบัดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีปริมาณออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงน้อยว่าหรือเท่ากับ 60 มิลลิเมตรปรอท จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกายให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอาการที่รุนแรง หรือกระตุ้นให้โรคประจำตัวกำเริบ นอกจากนี้ลักษณะอาการที่ควรทำออกซิเจนบำบัดก็ยังรวมไปถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น อาการหายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ มีอาการไอ หายใจแล้วมีเสียงหวีด รู้สึกเหนื่อยและเหงื่อออกง่าย เป็นต้น

การบำบัดด้วยออกซิเจน เหมาะกับใคร

เนื่องจากการบำบัดด้วยออกซิเจนนั้นสามารถใช้ฟื้นฟูและรักษาได้หลากหลายโรค ไม่ใช่เพียงแค่โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ซึ่งผู้ที่เหมาะและสามารถทำออกซิเจนบำบัดได้ จะมีดังนี้

  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคปอด โรคหอบหืด ฯลฯ
  • ผู้ที่เป็นโรคซีสติกไฟโบรซีส
  • ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน
  • ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
  • ผู้ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย

การรักษาด้วยออกซิเจนบำบัด มีกี่ประเภท

1.การบำบัดด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน

สำหรับการบำบัดด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) เป็นวิธีการบำบัดด้วยออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนผ่านสายหรือท่อให้ออกซิเจน ที่เชื่อมต่อมาจากเครื่องผลิตออกซิเจน ซึ่งจะมีให้เลือกใช้งานทั้งหมด 2 แบบ คือแบบที่เป็นหน้ากากและแบบท่อที่ต่อเข้ากับหลอดลมโดยตรง โดยจุดเด่นของการบำบัดด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน ก็คือสามารถปรับอัตราการไหลหรือความเข้มข้นของออกซิเจนได้ตามต้องการ จึงมีความยืดหยุ่นสูง

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: วิธีใช้เครื่องผลิตออกซิเจนเองที่บ้าน ใช้งานง่ายด้วยตนเอง พร้อมคู่มือการใช้งาน

2.การบำบัดด้วยถังออกซิเจน

วิธีต่อมาคือ การทำออกซิเจนบำบัดด้วยถังออกซิเจน (Oxygen Tank) ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดที่แพทย์มักจะใช้งานในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการออกซิเจนในระยะเวลาไม่นาน หรือต้องการในระยะสั้นๆ เป็นเพียงการบรรเทาอาการหายใจไม่ออกจากการป่วยเท่านั้น อีกทั้งในระหว่างที่มีการทำออกซิเจนบำบัดด้วยถังออกซิเจน จำเป็นต้องทำการตรวจสอบปริมาณของออกซิเจนในถังอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าออกซิเจนจะไม่หมดระหว่างการบำบัดรักษา

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: ถังออกซิเจน ใช้ได้กี่ชั่วโมง? แต่ละขนาดใช้งานได้นานต่างกันเท่าไหร่ เลือกแบบไหนดีที่สุด

3.การบำบัดด้วยอุโมงค์ Hyperbaric Chamber

อุโมงค์ไฮเปอร์แบริก (Hyperbaric Chamber) เป็นการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง ที่ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนในปริมาณที่มากกว่าปกติประมาณ 3-4 เท่า เป็นวิธีที่สามารถช่วยรักษาบาดแผลหรือการติดเชื้อรุนแรงได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นการบำบัดออกซิเจนด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก เพื่อไม่ให้ปริมาณออกซิเจนเข้าร่างกายมากเกินไป เพราะจะสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง

ก่อนรักษาด้วยออกซิเจนบำบัด ต้องเตรียมตัวอย่างไร

หลังจากทราบว่าตัวเองมีโรคประจำ หรือมีอาการที่เข้าข่ายสามารถบำบัดด้วยออกซิเจนได้ สิ่งแรกที่ต้องทำเลยก็คือการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำและแนวทางในการบำบัดอย่างถูกต้อง โดยการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการทำออกซิเจนบำบัด จะเริ่มจากการตรวจเช็คสภาพร่างกาย รวมถึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัดออกซิเจนด้วยว่ามีข้อดี ข้อควรระวังและผลข้างเคียงในการทำบำบัดออกซิเจนอย่างไรบ้าง เพื่อทำให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุดนั่นเอง

ข้อควรระวังในการบำบัดด้วยออกซิเจน

  • ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือระวังบุคคลอื่นไม่ให้สูบบุหรี่ในขณะที่ทำการบำบัดด้วยออกซิเจน
  • การทำการบำบัดด้วยออกซิเจนไม่เหมาะสำหรับ สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง
  • ระวังอย่าให้มีปริมาณออกซิเจนในร่างกายมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หูชั้นกลาง เยื่อแก้วหูฉีก หรือปอดเกิดการยุบตัวได้
  • ทำการเก็บอุปกรณ์ให้ออกซิเจนในบริเวณที่อากาศถ่ายเท่ได้ดี
  • ควรเตรียมเครื่องดับเพลิงไว้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของเหลวที่สามารถติดไฟได้ง่าย ในระหว่างที่กำลังทำการรักษาหรือบำบัดด้วยออกซิเจน

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: แนะนำ 8 วิธีดูแลปอด ช่วยฟื้นฟูปอดให้แข็งแรง มีสุขภาพดี ห่างไกลโรคร้าย

ปัจจุบัน ออกซิเจนบำบัด ถือเป็นแนวทางการรักษาและฟื้นฟูร่างกายรูปแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพและรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการบำบัดด้วยออกซิเจนจะช่วยบรรเทาอาการป่วย และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดีขึ้น ผ่านการนำส่งออกซิเจนบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าสู่ร่างกาย แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรทำภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์ และระวังไม่ให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้

– – – – – – –

ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/

โทรติดต่อ : 062-696-8628

Line@ : @Rakmor

FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *