ฮีโมโกลบิน คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย วิธีตรวจหาฮีโมโกลบินในเลือด ต้องทำอย่างไรบ้าง

ฮีโมโกลบิน คืออะไร มีหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกายอย่างไร

ฮีโมโกลบิน คืออะไร ?

ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) คือ โมเลกุลโปรตีนที่พบในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิต มีองค์ประกอบสำคัญคือ (Heme) โดยมีโครงสร้างเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยเหล็ก (Fe) และโปรตีน (Protein) และมีองค์ประกอบคือ โกลบินชนิดต่างๆ 4 ชนิด โดยปกติฮีโมโกลบินในผู้ใหญ่จะประกอบไปด้วยสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และชนิดเบต้า 2 ตัว ส่วนในเด็กทารกโครงสร้างของฮีโมโกลบินจะประกอบไปด้วยสายโกลบูลินชนิดอัลฟา 2 ตัว และแกมมา 2 ตัว

ฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย

ฮีโมโกลบินทำหน้าที่นำพาออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อไปยังปอดเพื่อฟอก นอกจากนี้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงยังมีความสามารถในการจับตัวกับออกซิเจนและปล่อยออกมาในเนื้อเยื่อของร่างกาย เพื่อทำให้เซลล์ร่างกายสามารถทำหน้าที่ต่างๆ เช่น สร้างพลังงานและดำเนินกระบวนการเมแทบอลิซึม ดังนั้นฮีโมโกลบินจึงมีความสำคัญ ถ้าหากไม่มีฮีโมโกลบิน ร่างกายก็จะไม่สามารถขนส่งออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเราจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ 

หน้าที่ของฮีโมโกลบิน มีอะไรบ้าง

ฮีโมโกลบิน มีกี่ประเภท ?

ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนเรา มี 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1.ฮีโมโกลบิน เอ

Hemoglobin A เป็นฮีโมโกลบินชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ สำหรับโครงสร้างของ ฮีโมโกลบิน เอ ประกอบด้วยสายโกลบินสองสาย คือ แอลฟา และ เบต้าโกลบินสองสาย ส่วนใหญ่ Hemoglobin A เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพทั่วไป และตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน หรือธาลัสซีเมีย ที่อาจทำให้ โครงสร้างของ Hemoglobin A ได้ มีการเปลี่ยนแปลงได้

2.ฮีโมโกลบิน เอ2

Hemoglobin A2 เป็นหนึ่งในชนิดของฮีโมโกลบินที่พบได้ในเม็ดเลือดแดงของคนเรา พบได้ในผู้ใหญ่ แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย สำหรับ ฮีโมโกลบิน เอ2 จะประกอบด้วยโมเลกุลสองชุดของ คือ โปรตีน globin และเหล็ก (iron) โดยในเลือดของมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ ปริมาณ Hemoglobin A2 ที่ถูกพบ จะมีค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 2-3% ของปริมาณ hemoglobin ทั้งหมดในเลือด และมักจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย 

3.ฮีโมโกลบิน เอฟ

Hemoglobin F เป็นเฮโมโกลบินที่พบในเด็กแรกเกิดและลูกน้อยในครรภ์ โดยโครงสร้างของฮีโมโกลบิน เอฟ จะประกอบด้วยสองสายโกลบิน คือสายโกลบิน 2 สาย และสายแกมมาโกลบิน 2 สาย และส่วนใหญ่ ฮีโมโกลบิน เอฟ ในเด็กทารกจะมีปริมาณแกมมาโกลบิน มากกว่าฮีโมโกลบิน เอ ที่พบในผู้ใหญ่ 

ฮีโมโกลบินค่าปกติ คือเท่าไหร่ ?

ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ในร่างกายของคนเราจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และปัจจัยอื่นๆ แต่โดยทั่วไปแล้ว ฮีโมโกลบินจะมีค่าปกติดังนี้ 

  • เด็กแรกเกิด ค่าปกติฮีโมโกลบิน 14-24 กรัมต่อเดซิลิตร 
  • เด็กทารก ค่าปกติฮีโมโกลบิน 9.5-13 กรัมต่อเดซิลิตร 
  • ผู้หญิง ค่าปกติฮีโมโกลบิน 12-15.5 กรัมต่อเดซิลิตร
  • ผู้ชาย ค่าปกติฮีโมโกลบิน 13.5-17.5 กรัมต่อเดซิลิตร 

สำหรับผู้ที่มีค่าฮีโมโกลบินอยู่ในระดับที่เป็นปกติ หมายความว่าสุขภาพร่างกายเป็นปกติ แต่ถ้าหากมีระดับฮีโมโกลบินที่ต่ำหรือสูง หมายความว่าสุขภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติ จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพ มีการวินิจฉัยที่แน่ชัด และอาจจำเป็นต้องมีการทดสอบ ประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของผลลัพธ์ที่ผิดปกติ ทั้งนี้แพทย์สามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติม และบอกทางเลือกในการรักษาตามสถานการณ์เฉพาะบุคคล

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : ฮีมาโตคริต (Hematocrit) คืออะไร ? ค่าปกติควรอยู่ที่เท่าไหร่ วิธีการตรวจหาต้องทำอย่างไรบ้าง

ระดับฮีโมโกลบินต่ำ เกิดจากอะไร ?

ระดับฮีโมโกลบินต่ำ คือภาวะที่ระดับฮีโมโกลบินลดต่ำลงกว่าเกณฑ์ปกติ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะระดับฮีโมโกลบินต่ำอาจเกิดจาก การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กจำเป็นสำหรับการผลิตฮีโมโกลบิน หรืออาจเกิดจากโรคไตเรื้อรังที่ลดการผลิต erythropoietin ทำให้ระดับฮีโมโกลบินต่ำ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการสูญเสียเลือด การอักเสบเรื้อรัง รวมไปถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ที่ส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้ระดับฮีโมโกลบินต่ำ

ระดับฮีโมโกลบินสูง เกิดจากอะไร ?

ระดับฮีโมโกลบินสูง คือภาวะที่ระดับฮีโมโกลบินพุ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะระดับฮีโมโกลบินสูงอาจเกิดจากภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง ที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอิติน จึงทำให้ระดับฮีโมโกลบินพุ่งสูง หรืออาจเกิดจากการสูบบุหรี่ ภาวะขาดน้ำ รวมไปถึงการป่วยเป็นโรคต่างๆอย่างเช่น โรคเลือด Polycythemia vera โรคปอด โรคถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : ความเข้มข้นของเลือด คืออะไร ? ช่วยบอกอะไรได้บ้าง วิธีเตรียมตัวและตรวจความเข้มข้นเลือด ต้องทำอย่างไร

การตรวจฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีวิธีอะไรบ้าง

วิธีการตรวจฮีโมโกลบินในเลือด

ปัจจุบันมีหลายการตรวจฮีโมโกลบินในเลือด สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม มีดังนี้

1.วิธีตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) เป็นการตรวจวัดปริมาณและคุณภาพของเซลล์เลือดต่างๆ ในร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells: RBC), เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells: WBC) และเกล็ดเลือด (Platelets: PLT) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวินิจฉัยหลายๆ โรค เช่น โรคเลือด เชื้อรา หรือมะเร็ง เป็นต้น

2.วิธีตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน

การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin Electrophoresis) เป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของฮีโมโกลบิน และตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน เพื่อดูว่ามีฮีโมโกลบินชนิดใดปรากฏอยู่ในตัวผู้ป่วย สำหรับจุดประสงค์อีกอย่างของการตรวจ Hemoglobin Electrophoresis ก็เพื่อวินิจฉัยโรคเม็ดเลือดสีฟ้า (Sickle cell anemia) และโรคโลหิตจาง หรือธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับฮีโมโกลบินในร่างกาย

ฮีโมโกลบิน เป็นโมเลกุลโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดที่มีความสำคัญ เพราะสามารถนำพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ซึ่งจำเป็นสำหรับเนื้อเยื่อและอวัยวะ ไปรวมถึงสมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ และการตรวจระดับของฮีโมโกลบินก็สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมของบุคคล เช่น โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ 

ดังนั้นแพทย์จึงต้องมีการตรวจระดับฮีโมโกลบินให้กับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่แพทย์จะได้จัดการกับภาวะสุขภาพ ปรับปรุงผลการรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนโรงพยาบาลที่ต้องการเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน (Centrifuge) ไว้ใช้ตรวจระดับฮีโมโกลบิน Rakmor จำหน่ายเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอนคุณภาพดี ได้มาตรฐาน ตอบโจทย์การใช้งาน มีการรับประกันสินค้า จัดส่งฟรีทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูล : 

https://www.pobpad.com/

https://amprohealth.com/checkup/hemoglobin/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *