6 แนวทาง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร และปัญหาที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ?

6 แนวทาง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่างถูกวิธี ต้องทำอย่างไร และปัญหาที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ?

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็นการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่มีสภาพร่างกายเสื่อมโทรม ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือช่วยเหลือตัวเองได้ จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งหากผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล ก็จะใช้ชีวิตได้ลำบากมาก ๆ

และหากปล่อยเอาไว้โดยที่ไม่มีคนดูแล ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ทำให้ร่างกายรับภาระหนักจนกลายเป็นแผลกกดทับ และอาการทรุดลงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีคนดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น 

ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยติดเตียงจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • ผู้ป่วยติดเตียงโดยสมบูรณ์ : เป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จำเป็นต้องพึ่งพาคนดูแลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
  • ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังพอสามารถขยับตัว หรือเคลื่อนไหวเองได้บ้าง : ทำให้อาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลทั้งหมด
ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง

การที่ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นจะต้องนอนอยู่เฉยๆ บนเตียงเป็นเวลานาน ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาว และยังมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจะมีดังนี้

1.เกิดแผลกดทับ

แผลกดทับนั้นจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน โดยที่ไม่มีการขยับตัวหรือเปลี่ยนท่านอน ส่งผลให้ร่างกายหรือผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับขาดเลือดมาเลี้ยง จนทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นตายและกลายเป็นแผลกดทับ

2.การกลืนอาหารลำบาก

สำหรับผู้ป่วยติดเตียงบางรายที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางช่องปากและคอหอย ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะกลืนอาหารได้ลำบาก และเศษอาหารอาจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดลมได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยติดเตียง ต้องทำอย่างไร ให้ปลอดภัยและเจ็บน้อยที่สุด !

3.ภาวะขาดสารอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนต่อมาที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยติดเตียง ก็คือ ภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางรายอาจมีปัญหาด้านการกลืนอาหารลำบาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้เอง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ

4.การติดเชื้อในร่างกาย

ผู้ป่วยติดเตียงเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่สามารถเกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ง่าย โดยอาจจะเป็นการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อในปอดจากการที่มีเศษอาหารไปอุดตัน  หรือการติดเชื้อในระบบขับถ่าย จากการขับถ่ายไม่เป็นระบบและทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

5.ภาวะด้านสุขภาพจิต

ผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องนอนนิ่ง ๆ โดยไม่สามารถขยับร่างกายได้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ ความเครียด มีอาการเป็นโรคซึมเศร้า หรือเบื่อหน่ายได้ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้นานๆ ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางสุขภาพจิตได้

วิธีการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ

วิธีการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ

 เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น ถือเป็นการดูแลรักษาในระยะยาว ดังนั้นผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยวิธีการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพจะมีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ ดังนี้

1.หมั่นเช็คสุภาพจิตของผู้ติดเตียง

การนอนติดเตียงเป็นเวลานานจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเครียด และมีภาวะทางสุขภาพจิตได้ ผู้ดูแลจึงควรหมั่นเช็คสุขภาพจิตของผู้ป่วยติดเตียงอยู่เสมอ และอาจลองหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผ่อนคลายและลดความเครียด

2.สภาพแวดล้อม

การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องของผู้ป่วย ให้มีความสะอาดเรียบร้อย อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มีการจัดวางเตียงผู้ป่วยในตำแหน่งที่ดี รวมถึงมีการจัดสภาพแวดล้อมให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คลิกดูสินค้าเตียงผู้ป่วย

3.การรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากมักจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ลำบาก ดังนั้นจึงควรเริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารข้นที่กลืนง่าย เช่น อาหารเหลวสําหรับผู้ป่วยติดเตียง อาหารเสริมผู้ป่วยติดเตียง อาหารทางการแพทย์ผู้ป่วยติดเตียง หรืออาหารสําหรับผู้ป่วยติดเตียง โดยควรป้อนอาหารอย่างช้าๆ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารอาหารตรงตามหลักของ โภชนาการผู้ป่วยติดเตียง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : เมนูอาหารลดน้ำตาลในเลือด อาหารที่คนเป็นเบาหวานทานได้ ถ้าไม่รู้จะกินอะไรดีที่อร่อย

4.การทำความสะอาด

ควรทำความสะอาดร่างกายของผู้ป่วยติดเตียงอยู่เสมอ ทั้งการเช็ดตัว การเปลี่ยนผ้าอ้อม การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ และหากผู้ป่วยติดเตียงถ่ายไม่ออก ก็ควรทำการสวนอุจจาระผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกจนนำไปสู่การติดเชื้อ แต่ถ้าผู้ป่วยติดเตียงยังพอเคลื่อนไหวตัวเองได้บ้าง ผู้ดูแลสามารถมองหาตัวช่วยดี ๆ อย่าง ‘ เก้าอี้นั่งถ่าย ‘ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยขับถ่ายได้อย่างสะดวกมากขึ้น

คลิกดูเก้าอี้นั่งถ่าย

5.อาการของแผลกดทับ

สำหรับการป้องกันอาการของแผลกดทับ ผู้ดูแลควรหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยเป็นประจำทุก ๆ 2 ชั่วโมง และควรทำการเปลี่ยนหรือสลับท่านอนอยู่บ่อย ๆ ด้วย รวมถึงอาจเพิ่มอุปกรณ์รองนอนเพื่อลดแรงกดทับอย่างการใช้ ‘ ที่นอนลมกันแผลกันทับ ‘ ก็จะช่วยได้เป็นอย่างดี ทำให้ยากต่อการเป็นแผลกดทับ

คลิกดูที่นอนลงกันแผลกดทับ

6.หมั่นดูอาการและโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

นอกจากการดูแลอาการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังควรหมั่นดูอาการและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปอดติดเชื้อผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงถ่ายบ่อย ผู้ป่วยติดเตียงมีเสมหะ ซึ่งสามารถดูแลได้ตามแต่ละอาการ เช่น การใช้ยาละลายเสมหะผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

ปัญหาที่พบบ่อยกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง และควรแก้ไขอย่างไร

  • ขาดการออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัด โดยแม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ก็ควรมีการให้ออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันไม่ให้เส้นยึด
  • ให้ผู้ป่วยติดเตียงใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปากแห้งได้ ดังนั้นจึงควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดช่องปากให้กับผู้ป่วย
  • การป้อนอาหารผู้ป่วยในท่านอน อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสำลักอาหารได้ง่าย ควรแก้ไขด้วยการปรับเตียงขึ้นให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งประมาณ 45 – 90 องศา ขณะทำการป้อนอาหาร

ผู้ป่วยติดเตียงนั้นถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความบอบบาง และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงทำให้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลหรือพยาบาลมาให้ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไม่ลำบาก โดยผู้ดูแลควรที่จะเข้าใจและทราบถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

หากคุณมีผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน แล้วกำลังมองหาอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ก็ควรเลือกซื้อจากร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น หากไม่แน่ใจว่าควรซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียงแบบไหนดี ก็สามารถติดต่อสอบถาม ร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ กับเราได้เลยนะคะ 🥰 เราพร้อมให้คำแนะนำที่ดีและเหมาะสมเสมอ

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *