เลือดหนืดควรกินอะไร ? และห้ามกินอะไรบ้าง ถึงจะดีต่อร่างกาย ช่วยลดอาการเลือดข้น เลือดหนืด

เลือดหนืดควรกินอะไร ? ถึงจะดีต่อสุขภาพ และมีอะไรบ้างที่ห้ามกิน

เลือดข้นกินอาหารแบบไหนดี

หลายคนอยากรู้ว่าเลือดหนืดควรกินอะไร หรือคนที่มีภาวะเลือดข้นกินอาหารแบบไหนดี ? เนื่องจากภาวะเลือดข้นเป็นภาวะที่มีความเข้มข้นของเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ และยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนงง ใจสั่น และอาจเกิดภาวะหมดสติ 

ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ คนที่มีภาวะเลือดหนืด ควรศึกษาวิธีการแก้ปัญหา และควรรู้ว่าคนมีเลือดหนืดควรกินอะไร สำหรับอาหารที่แก้ปัญหาเลือดหนืดได้นั้น ปัจจุบันมีหลายอย่าง ตั้งแต่อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น เบอร์รี่ ผักใบเขียว เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้เราได้รวบรวมอาหารที่ควรทานและไม่ควรทาน สำหรับคนที่มีภาวะเลือดข้น เลือดหนืดมาให้แล้ว

หากมีภาวะเลือดหนืด ควรกินอะไร ? ถึงจะดีต่อสุขภาพ

อาหารหลายอย่างดีต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง และยังช่วยบำรุงเลือด ช่วยในเรื่องของระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี สำหรับอาหารที่เหมาะกับคนมีภาวะเลือดหนืด และเป็นอาหารที่คนเลือดหนืดควรกิน มีดังนี้

1.ปลาแซลมอน 

เนื้อปลาแซลมอน อุดมไปด้วยกรดไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัว และยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีต่อร่างกาย โดยกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยต้านการอักเสบ และกรดไขมันชนิดดีก็ช่วยแก้ปัญหาเลือดหนืดได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

2.เบอร์รี่ 

เบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเบอร์รี่อุดมไปด้วย วิตามิน C ที่สูง ซึ่งวิตามิน C ก็ดีต่อร่างกาย ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ช่วยลดปัญหาเลือดแข็งตัว และยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย นอกจากนี้เบอร์รี่ยังมีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอักเสบ ลดการอักเสบในหลอดเลือด และก็ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยลดการทำลายเซลล์ และป้องกันเส้นเลือดแข็งตาย ที่เป็นสาเหตุของภาวะเลือดหนืดได้อีกด้วย 

เลือดหนืด ควรกินเบอรรี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

3.กระเทียม 

กระเทียม สมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่น่าสนใจ มีผลต่อระบบเลือดหลายอย่าง โดยกระเทียมมีสารสำคัญที่ชื่อว่าอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารสำคัญมีคุณสมบัติในการสร้างภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือด ลดการติดเชื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และยังช่วยลดการอุดตันในหลอดเลือดด้วย

4.แตงโม 

แตงโมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เพราะในแตงโมมีสาร Citruline Amino Acid ที่มีประโยชน์ต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก นอกจากนี้สารชนิดนี้ยังช่วยคลายเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่แข็งตัว และทำให้ไม่เกิดการอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดหนืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

5.พริก

พริก เป็นผักและสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด เพราะในพริกมีสารสำคัญอย่าง Capsaicin ซึ่งเป็นสารที่มีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด นอกจากนี้สารชนิดนี้ยังช่วยเร่งให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น และยังช่วยลดความหนืดหนาของเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาต รวมถึงการเกิดโรคหลอดเลือดในหัวใจ 

6.ทับทิม 

ทับทิมเป็นผลไม้ที่ช่วยต้านเบาหวาน ช่วยบำรุงเลือด และยังช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทับทิมยังช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดข้นหรือเลือดหนืดอีกด้วย 

อยากลดความเสี่ยงภาวะเลือดหนืด ควรกินทับทิม

7.แก้วมังกรสีแดง 

แก้วมังกรสีแดงเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และโปรตีน ซึ่งนอกจากจะช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มและเปล่งปลั่งแล้ว แก้วมังกรยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดี นอกจากนี้แก้วมังกรสีแดงยังมีประโยชน์ในการบำรุงเลือดอีกด้วย 

8.ดาร์กช็อกโกแลต 

ดาร์กช็อกโกแลตเป็นช็อกโกแลตที่มีประโยชน์ต่อระบบไหลเวียนเลือด เพราะดาร์กช็อกโกแลตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่สามารถมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด เช่น สารธาตุกำมะถันสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการเกิดอันตรายจากอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งการลดอนุมูลอิสระก็จะช่วยลดการอักเสบในผนังหลอดเลือด และช่วยลดความหนืดของเลือดได้ 

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : รวม 7 อาหารบำรุงเลือด ที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนโลหิต ป้องกันภาวะเลือดจาง

คนที่มีเลือดข้นห้ามกินอะไร ?

คนที่มีภาวะเลือดข้นหรือเลือดหนืด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง อย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง อาหารรสเค็มต่างๆ เพราะการทานอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้ร่างกายสะสมน้ำในร่างกายมากขึ้น เมื่อร่างกายมีน้ำในปริมาณที่มาก ก็จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะเลือดข้น ดังนั้นคนที่มีภาวะเลือดข้นจึงควร ลดปริมาณโซเดียมในอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด สำหรับปริมาณโซเดียมที่ควรทาน แนะนำให้ทานต่อวันไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา เท่านั้น

การรู้ว่าเลือดหนืดควรกินอะไร นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้คนที่มีภาวะเลือดข้น เลือดหนืด ได้ปรับตัวกับการทานอาหาร ได้รู้วิธีแก้ปัญหา และได้รู้ว่าควรจะทานอะไรเพื่อบำรุงเลือด และช่วยเรื่องระบบไหลเวียนเลือด แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเลือดหนืด หรือมีความเสี่ยง ควรที่จะงดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เพราะปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไปจะส่งผลเสียต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 

ส่วนแพทย์หรือนักวิจัยที่ต้องการเครื่องมือแยกชั้นเลือด เพื่อแยกชั้นไขมันกับชั้นเลือด หรือต้องการตรวจปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง แนะนำให้ใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน จากร้าน Rakmor เพราะเครื่องปั่นเบี่ยงตกตะกอนของทางร้านเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ช่วยแยกชั้นเลือด ตรวจปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังช่วยในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

2 thoughts on “เลือดหนืดควรกินอะไร ? และห้ามกินอะไรบ้าง ถึงจะดีต่อร่างกาย ช่วยลดอาการเลือดข้น เลือดหนืด

    • Rakmor Medical Co., Ltd. says:

      การรักษาเลือดข้น

      ในการรักษามีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายผลิตออกมามากผิดปกติและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงบรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะเลือดข้น เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน เป็นต้น โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

      การถ่ายเลือด (Phlebotomy)
      วิธีการจะคล้ายกับการบริจาคเลือด แพทย์หรือพยาบาลจะใช้เข็มเจาะที่เส้นเลือดบริเวณแขนแล้วถ่ายเลือดออกจากร่างกาย เพื่อกำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่มีจำนวนมากเกินไป โดยจะรักษาทุกสัปดาห์ หากอาการดีขึ้นจะลดลงเหลือทุก ๆ 6–12 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น จนกว่าผู้ป่วยจะมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงไปจากเดิมประมาณ 45% ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยหรือเมื่อยล้าหลังการถ่ายเลือด และเส้นเลือดอาจได้รับความเสียหายหากมีการถ่ายเลือดหลายครั้ง

      การใช้ยา
      เมื่อผู้ป่วยมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงแล้ว แพทย์อาจจะให้รับประทานยาเพื่อชะลอการทำงานของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

    • ยาไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย หรือใช้ในการป้องกันและรักษาผู้ที่มีภาวะม้ามโต ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดข้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีผื่นคัน เป็นต้น
    • ยาอินเตอร์เฟอรอนอัลฟ่า (Interferon-Alpha) เป็นยาที่ใช้ชะลอการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ยา เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
    • ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาต้านเกร็ดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงอาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนที่มือและเท้า อาการคัน อาการปวด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ยาเป็นประจำทุกวัน เช่น เลือดออกมาก โดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร หรือส่วนอื่น ๆ ของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
    • ผู้ที่มีภาวะเลือดข้นและอยู่ในระหว่างการรักษาสามารถดูแลตัวเองที่บ้านให้ดีขึ้นได้ ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงการยืดร่างกายโดยเฉพาะที่บริเวณขาและข้อเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้นและช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้
    • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวและอาการคันตามผิวหนัง หากเกิดอาการคันสามารถทาครีมบำรุงหรือใช้ยาต้านฮีสตามีนได้ และไม่ควรเกาเพราะอาจทำให้เกิดแผลหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางผิวหนัง
    • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้ร่างกายหนาวหรือร้อนมากเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการเลือดข้นขึ้น
    • ข้อมูลอ้างอิง : pobpad.com/เลือดข้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *