อาหารที่มีอินซูลิน
อินซูลิน คืออะไร อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าตับอ่อนของมนุษย์มีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือสร้างเอนไซม์เพื่อเผาผลาญไขมันและโปรตีน อีกหนึ่งหน้าที่คือผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยทำให้น้ำตาลตกค้างในเลือดส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้น ต้องหาวิธีฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย
ยา – อาหารที่มีอินซูลิน ได้แก่
ครีมอินซูลิน
แม้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะควรงดเว้นการรับประทานครีมเทียมต่างๆ เพราะมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่ก็ยังมีครีมอีกหนึ่งชนิดที่สามารถรับประทานได้คือครีมเทียมจากใยอาหาร ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100% สามารถใช้ทดแทนครีมเทียมทั่วไปได้ เป็นทางเลือกใหม่เพื่อคนรักสุขภาพไม่มีคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่ควบคุมอาหาร
น้ำตาลเทียมอินซูลิน
น้ำตาลอินซูลินคือสารให้ความหวานที่ถูกใช้แทนน้ำตาลทั่วไป โดยสารให้ความหวานนี้ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดที่ให้พลังงานสูง ได้แก่ ฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลจากผลไม้ ไซลิทอล มอลทิทอล และซอร์บิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
2.สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ เช่น ซูคราโลส สตีเวีย ซึ่งเป็นสารสกัดจากหญ้าหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ฉีดยาอินซูลิน
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลิน ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ด้วยการรับประทาน ร่วมกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายหรือเป็นโรคตับ โรคไตผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้ออยู่ระหว่างการผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ตรวจน้ำตาลคนท้อง ด้วยวิธีที่ถูกต้อง พร้อมคำถามที่คุณแม่สงสัย ไขคำตอบกับเรื่องเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การฉีดอินซูลินจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย ส่วนใหญ่นิยมฉีดที่บริเวณหน้าท้อง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดอินซูลินบางรายอาจเกิดอาการแพ้ มีผื่นคัน ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเกิดรอยบุ๋ม รอยนูนขึ้น รวมทั้งเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการมือสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ใจสั่นและหมดสติ
หากผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ยังรู้สึกตัวดีให้ดื่มนมหวาน อมลูกอม รับประทานผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้าและส้ม เป็นต้น แต่หากมีอาการรุนแรงไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
อาหารที่ไม่กระตุ้นอินซูลิน ได้แก่
1. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทาน
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว นมข้นหวาน เป็นต้น
- น้ำตาลทุกชนิด ได้แก่ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำตาลอ้อย เป็นต้น
- อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีมเทียม เป็นต้น
- ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง รวมถึงผลไม้กระป๋อง ไม่ควรรับประทาน
2. อาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ
อาหารประเภทข้าวและแป้ง เช่น ขนมปัง ฟักทอง มัน เผือก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาลและมีโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลและเป็นแหล่งพลังงาน ควรรับประทานให้เหมาะสม
หากรับประทานข้าวน้อยเกินไปจะส่งผลเสียให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การเลือกรับประทานข้าว ควรเป็นข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่เพราะมีใยอาหารที่สูง
ผลไม้แต่ละชนิดมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งผลไม้รสหวาน ยิ่งมีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย องุ่นมะม่วงสุก เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผลไม้ที่ไม่มีรสหวานมากเกินไป รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน
คลิกอ่านเพิ่มเติม : 10 ผลไม้ลดน้ำตาลในเลือด ที่คนเป็นเบาหวานทานได้ 100% มีน้ำตาลน้อย ปลอดภัยสุดๆ
3. อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานได้ ไม่จำกัดปริมาณ
เมนูอาหารลดน้ำตาลในเลือด ทานได้ไม่จำกัดปริมาณ คือ ผักก้าน ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกมื้ออาหารทุกวัน รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้มีแคลอรีต่ำ ในขณะเดียวกันก็มีใยอาหารสูงทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลงอีกทั้งยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วจนเกินไปด้วยทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดีได้แก่ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักกาดขาว บวบ แตงกวา น้ำเต้า ฟัก ถั่วงอก ถั่วฝักยาว เป็นต้น สามารถรับประทานในรูปแบบผักสดหรือผักต้มก็ได้
เมื่อได้รู้แล้วว่า อาหารที่มีอินซูลิน และอาหารที่ไม่กระตุ้นอินซูลินเป็นอย่างไร รวมถึงสาระน่ารู้ต่างๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกจากจะต้องเพิ่มอินซูลินในร่างกายแล้ว การหมั่นเช็คดูอาการ ติดตามอาการด้วยอุปกรณ์การแพทย์ที่เรียกว่า ‘เครื่องวัดน้ำตาล’ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่าง เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ที่ใช้เฝ้าระวังอาการทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงภาวะความเสี่ยง ชุดตรวจน้ำตาลในเลือดมาพร้อมอุปกรณ์ครบครันได้แก่ เครื่องตรวจน้ำตาล | เข็มเจาะน้ำตาล | แผ่นตรวจน้ำตาล สามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ อย่างเช่น ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ Rakmor จำหน่ายเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดที่มีความแม่นยำสูง แบรนด์ที่มี คุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical