เบาหวานในคนท้อง คืออาการแทรกซ้อนอย่างหนึ่ง คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งต้องมีการตรวจเบาหวานตอนตั้งครรภ์ ตรวจน้ำตาลคนท้อง ทำอย่างไร ผลตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่บ่งบอกว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีค่าเท่าไหร่แล้วถ้า ตรวจเจอเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไร บทความนี้เรามีคำตอบ
ขอบคุณคลิปวิดิโอจาก : Janny
ตรวจน้ำตาลคนท้อง
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีอันตรายทั้งต่อคุณแม่และทารกที่อยู่ในครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ แท้งบุตร ทารกตัวโต ปอดทารกไม่สมบูรณ์ ฯลฯ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจคัดกรอง หากพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะได้รักษาตัวอย่างรวดเร็วและดูแลตนเองให้ถูกต้อง
การตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรตรวจตอนกี่เดือน / กี่ครั้ง
เริ่มแรกเมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจร่างกายโดยรวม เมื่อแพทย์ซักประวัติแล้วพบว่าคุณแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หลังจากที่ได้รับการตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้ว เมื่อพบว่าผลออกมาเป็นปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดปกติให้ตรวจซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
แต่ถ้าผลออกมาผิดปกติ คุณแม่ต้องควบคุมอาหาร ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และต้องได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ แต่หากไม่มีความเสี่ยง เริ่มแรกเมื่อตั้งครรภ์ไม่ต้องตรวจคัดกรอง
โดยสามารถตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตอนช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ได้เลย การตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะต้องมีการตรวจคัดกรองแบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งเราจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป
1. การตรวจวินิจฉัย
เริ่มแรกแพทย์จะซักประวัติก่อน เช่น คุณแม่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในครรภ์ก่อนหน้ามาแล้วหรือไม่ เคยเป็นโรคเบาหวานมาหรือเปล่า หรือคนในครอบครัวมีใครเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ คุณแม่ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน จะได้รับการตรวจหาเบาหวานอย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อซักประวัติเสร็จต้องตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจครรภ์ว่ามีภาวะครรภ์ใหญ่กว่าปกติหรือไม่ ตรวจดูความผิดปกติของระบบต่างๆ
ต่อมาคือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ และตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยวิธี OGTT (Oral Glucose Tolerance Test) คือ การตรวจสอบร่างกายต่อการทนน้ำตาลว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
2. การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยง
การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยง สามารถตรวจได้ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย หรือตรวจเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง โดยทำการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน หรือ 2 Step Screening
เริ่มจากการประเมินความเสี่ยง กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด เช่น โรคอ้วน เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน มีน้ำตาลในปัสสาวะ และมีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ถ้าผลออกมาเป็นปกติให้ตรวจซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
การตรวจแบบ 2 ชั้น
2.1 ตรวจคัดกรองด้วย 50 กรัม GCT (Glucose Challenge Test)
ขณะอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ให้ทานกลูโคสขนาด 50 กรัม ถ้าระดับ Plasma glucose เท่ากับหรือมากกว่า 140 มก./ดล. หมายความว่ามีความผิดปกติ ให้วินิจฉัยต่อด้วย 100 กรัม OGTT
2.2 ตรวจคัดกรองด้วย 100 กรัม OGTT (Oral Glucose Tolerance Test)
ทำการเจาะเลือดขณะอดอาหาร เพื่อตรวจหา Fasting Glucose แล้วให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม โดยเจาะเลือดซ้ำทุกๆ 1 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง
เมื่อพบว่า เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมอาหาร เน้นรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์หรือทานอาหารตามคำแนะนำของแพทย์
ตรวจน้ำตาลคนท้อง จำเป็นต้องอดอาหารไหม
หญิงตั้งครรภ์ที่จะเข้ารับการตรวจหาเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ หากตรวจคัดกรองด้วย 50 กรัม GCT (Glucose Challenge Test) ไม่ต้องงดน้ำและอาหารมาก่อน แต่หากพบความผิดปกติ แล้วต้องตรวจคัดกรองด้วย 100 กรัม OGTT (Oral Glucose Tolerance Test) จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารมาก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการทานเมนูอาหารเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่เหมาะสม มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทานอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นทานอาหารที่มีโปรตีน ควบคู่กับการทานผักทุกมื้อ ทานผลไม้ที่มีประโยชน์ ไม่ควรทานผลไม้ที่มีรสหวาน เลือกทานข้าวกล้อง หรือธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง
นอกจากนั้นคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยังต้องหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากน้ำตาลในเครื่องดื่มเหล่านี้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว อาจทำให้อาการแย่ลงหรือเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ส่งผลเสียทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากการรับประทานอาหารแล้ว ยังควรหมั่นออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย หรือหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่บ่อยๆ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
ตรวจน้ำตาลคนท้อง ค่าระดับน้ำตาลต้องไม่เกินเท่าไหร่
การตรวจน้ำตาลคนท้อง กรณีที่ตรวจคัดกรองด้วย 50 กรัม GCT หากพบว่าระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 140 mg/dL หมายความว่าผิดปกติ ซึ่งต้องตรวจคัดกรองด้วย 100 กรัม OGTT ในลำดับต่อไป
-
ขณะอดอาหารก่อนกลืนน้ำตาล 100 กรัม น้ำตาลควรน้อยกว่า 90 mg/dL
-
หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ที่ 1 ชม. น้ำตาลควรน้อยกว่า 180 mg/dL
-
หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ที่ 2 ชม. น้ำตาลควรน้อยกว่า 155 mg/dL
-
หลังกลืนน้ำตาล 100 กรัม ที่ 3 ชม. น้ำตาลควรน้อยกว่า 140 mg/dL
หากพบความผิดปกติมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ค่า ของ 100 กรัม-OGTT ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรถ์ และหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 mg/dL ควรได้รับการรักษาทันที เพื่อลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน
โรงพยาบาล – คลีนิค ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ราคาเท่าไหร่
คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก ราคาเริ่มต้นที่ 1,xxx บาทขึ้นไป ยิ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนราคาก็ยิ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถตรวจน้ำตาลคนท้องด้วยตัวเอง ได้ด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลคนท้อง มีราคาไม่แพง คุ้มค่ามากกว่า ใช้ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดได้หลายครั้ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการคัดกรองผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน จนนำมาสู่การรักษาอย่างรวดเร็วและถูกวิธี
มองหาเครื่อง เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด หรือ เครื่องตรวจน้ำตาลคนท้อง อุปกรณ์ครบชุดมาพร้อมแผ่นเจาะน้ำตาล , เข็มเจาะน้ำตาล ซึ่งซื้อได้เลยที่ Rakmor ร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์แบบครบวงจร รวบรวมสินค้าจากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำ ที่คุณสามารถเชื่อถือได้ สินค้ามีการรับประกันอย่างดี
มีบริการจัดส่งรวดเร็ว พร้อมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาที่ดี ทั้งก่อนและหลังการขาย จำหน่ายเครื่องตรวจวัดน้ำจาลในเลือด มีให้คุณเลือกหลายแบรนด์ หลายรุ่น เครื่องตรวจวัดน้ำตาลที่มีความแม่นยำสูง ทันสมัย พกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน จำหน่ายทั้งราคาส่งและราคาปลีก
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical