การอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง ดูได้ไม่ยาก

การอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ

การอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ

การใช้งานเครื่องวัดสัญญาณชีพและการอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยดูแลสุขภาพ เพราะช่วยในการตรวจสอบสถานะของร่างกายของผู้ป่วย ช่วยในการวินิจฉัย และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การการเครื่องอ่านสัญญาณชีพ ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้และมีความเข้าใจในสัญญาณชีพแต่ละอย่าง และจะต้องดูผลลัพธ์ที่เครื่องวัดแสดงออกมาอย่างละเอียด พร้อมทั้งตรวจสอบดัชนีชีพจร ดัชนีมวลกาย อุณหภูมิ และสีผิวหนัง เพราะทั้งหมดนี้มีความสำคัญต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ได้สามารถวินิจฉัยโรค ประเมินสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย ตรวจสอบภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งยังช่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่าสัญญาณชีพที่ผิดปกติ โดยจะทำให้ผู้ดูแลหรือผู้อ่านสามารถแจ้งข้อมูลให้กับแพทย์ผู้ดูแลให้ได้ทราบ เพื่อให้แพทย์ผู้ดูแลดำเนินการตรวจสอบและทำการรักษาได้ทัน

อ่านเพิ่มเติม : เครื่องวัดสัญญาณชีพ สำหรับติดตามการทำงานของหัวใจ

เครื่องวัดสัญญาณชีพ ทำงานอย่างไร

เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีหลักการพื้นฐานคือ มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ บนร่างกายของผู้ป่วยเพื่อวัดสัญญาณชีพปกติ และไม่ปกติ โดยเซ็นเซอร์เหล่านี้จะติดบนร่างกายของผู้ป่วยตามสถานะทางการวัด หากติดกับหน้าอกของผู้ป่วย จะเป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ หากติดที่แขนจะเป็นการวัดความดันโลหิต ส่วนที่ติดที่หน้าผากหรือหู จะเป็นการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เมื่อทำการติดเซ็นเซอร์และเครื่องทำการประมวลผลข้อมูลแล้ว สัญญาณจากเซ็นเซอร์จะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลข้อมูลของตัวเครื่อง พร้อมกับแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นข้อมูลที่สามารถอ่านได้บนจอภาพ พร้อมกันนั้นยังมีการเวลาบนหน้าจอตามเวลาจริง ส่วนของสัญญาณเตือนภัย เครื่องวัดสัญญาณชีพส่วนใหญ่จะติดตั้งสัญญาณเตือนภัย ที่จะทำงานเมื่อสัญญาณชีพบางอย่างอยู่นอกช่วงปกติ หรือมีความผิดปกติอื่นๆ โดยจะแจ้งเตือนให้กับแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ได้รู้ เพื่อให้แพทย์ตรวจสอบและทำการดูแลผู้ป่วย

สำหรับขั้นตอนการใช้เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ บางรุ่นและบางยี่ห้อจะมีวิธีการใช้งานที่อาจแตกต่างกันไป แต่เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้

  1. เตรียมผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย และอยู่ในท่าที่มั่นคง
  2. เปิดเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ พร้อมกับเลือกสัญญาณชีพที่จะติดตาม
  3. ติดเซ็นเซอร์บนร่างกายของผู้ป่วย ควรติดเซ็นเซอร์ให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย เช่น พันผ้าพันแขนวัดความดันโลหิตไว้รอบแขนของผู้ป่วย หรือติดเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดที่นิ้วของผู้ป่วย
  4. กดปุ่มที่เหมาะสม หรือเลือกตัวเลือกที่เหมาะสม เพื่อเริ่มตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วย
  5. ทำการอ่านสัญญาณชีพของผู้ป่วย โดยดูได้จากจอภาพพร้อมกับสังเกตความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ
  6. บันทึกผลการตรวจติดตามสัญญาณชีพ สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้
  7. เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น ให้ถอดเซ็นเซอร์ออกจากร่างกายของผู้ป่วย
  8. ปิดเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ พร้อมกับตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดเก็บไว้อย่างเหมาะสมเพื่อใช้ในครั้งต่อๆไป

การอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ มีอะไรบ้าง

ในหน้าจอของเครื่องวัดสัญญาณชีพ จะมีสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงผล หรือแสดงสัญญาณชีพและค่าที่วัดได้ ซึ่งสัญลักษณ์ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

  • กราฟชีพจร เป็นกราฟที่แสดงค่าชีพจรในแนวตั้ง ส่วนเวลาจะแสดงอยู่ในแนวนอน
  • ค่าชีพจร เป็นค่าที่แสดงค่าอัตราการเต้นของหัวใจ มีหน่วยวัดเป็น bpm (beats per minute)
  • ค่าความดันโลหิต แบ่งออกเป็นสองค่า ได้แก่ ค่าความดันเลือดตอนหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดตอนหัวใจคลายตัว มีหน่วยวัดเป็น mmHg (millimeters of mercury)
  • ค่าออกซิเจนในเลือด จะแสดงปริมาณของออกซิเจนที่มีอยู่ในเลือด มีหน่วยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
  • อัตราการหายใจ เป็นค่าแสดงจำนวนครั้งที่หายใจต่อนาที มีหน่วยวัดเป็น bpm (breaths per minute)
  • อุณหภูมิร่างกาย เป็นค่าที่แสดงอุณหภูมิของร่างกาย มีหน่วยวัดเป็นองศาเซลเซียส (°C)

ในส่วนของการอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ หลักการในการอ่านมีอยู่ง่ายๆ หากต้องการอ่าน ให้ดูที่หน่วยวัด mmHg จากนั้นอ่านค่าความดันโลหิตจากเลขตัวบนและเลขตัวล่าง เพื่อดูว่าค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่ สำหรับเลขบนส่วนซ้ายจะแสดงค่าความดันโลหิตสูงสุด (Systolic Pressure) ส่วนเลขบนส่วนขวาจะแสดงค่าความดันโลหิตต่ำสุด (Diastolic Pressure) ส่วนการอ่านค่าชีพจรจะอยู่ที่หน้าจอด้านล่าง โดยจะมีเลขที่แสดงค่าชีพจรต่อนาที (beats per minute)

หาซื้อ หาอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ ราคาถูก

ส่วนใหญ่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดสัญญาณชีพจะเป็นผู้ป่วย เพราะเครื่องวัดสัญญาณชีพมีความสำคัญกับผู้ป่วย โดยมีเหตุผลหลายประการที่ผู้ป่วยต้องได้รับการติดตามสัญญาณชีพ และต้องได้รับการอ่านเครื่องวัดสัญญาณชีพ ประการแรกคือการติดตามสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของผู้ป่วยคงที่ และดีขึ้น และเพื่อตรวจจับสัญญาณเริ่มต้นของภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถตรวจสอบและทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เครื่องวัดสัญญาณชีพยังมีความจำเป็นกับผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาหลังการผ่าตัด เพื่อให้มั่นใจว่าสัญญาณชีพของผู้ป่วยคงที่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดสัญญาณชีพแบบไหน จะเป็นเครื่องวัดสัญญาณชีพราคาถูก หรือราคาที่จับต้องได้ ก็ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญกับผู้ป่วย ช่วยตรวจวัดและติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยรับประกันความปลอดภัย ช่วยปรับปรุงการรักษาให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *