วัดไข้ใต้ลิ้น
การวัดไข้ใต้ลิ้น เป็นการวัดอุณหภูมิผ่านทางปากด้วยปรอทวัดไข้ทางปากแบบต่าง ๆ เช่น ปรอทวัดไข้แบบแก้ว และปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล การวัดไข้ใต้ลิ้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางการตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกายที่มีความแม่นยำไม่แพ้กับการวัดไข้ผ่านช่องทางอื่น ๆ
ในบทความนี้ RAKMOR จะพาไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการ วัดไข้ใต้ลิ้น หรือ การวัดไขทางปากกันค่ะ ว่ามีขั้นตอนวิธีการวัดไข้ใต้ลิ้นอย่างไรบ้าง ต้องใช้เวลากี่นาทีในการตรวจวัดกันแน่
วัดไข้ทางปาก แม่นยำหรือไม่
การวัดไข้ คือ การวัดเพื่อตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายด้วยปรอทวัดไข้หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ โดยสามารถวัดไข้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการวัดไข้ทางรักแร้ วัดไข้ทางหู วัดไข้ทางปาก และวัดไข้ทางทวารหนัก แต่การวัดไข้ทางรักแร้นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เพราะมีความแม่นยำสูง ใช้งานสะดวก แต่ในขณะเดียวกันการวัดไข้ทางปากหรือวัดอุณหภูมิในช่องปากก็มีความแม่นยำไม่แพ้กัน
อย่างไรก็ตามการวัดไข้ทางปากเหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่พูดคุยเข้าใจ หรือสามารถสื่อสารรู้เรื่อง ซึ่งการวัดไข้ทางปากไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่เด็กจะกัดไปโดนปรอทวัดไข้แตกได้
อ่านบทความการวัดไข้อื่นๆ เพิ่มเติม ;
📍 การวัดไข้ทางรักแร้ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เวลาทั้งหมดกี่นาที
วัดไข้ใต้ลิ้น อุณหภูมิปกติเท่าไหร่
สำหรับผู้ใหญ่หรือคนโตที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อุณหภูมิปกติของร่างกายจะอยู่ที่ระหว่าง 36.5-37.2 องศาเซลเซียส หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คืออุณหภูมิเฉลี่ยของร่ายกายจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งระหว่างวันอุณหภูมิของร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงไปจากนี้เล็กน้อย อย่างไรก็ตามเกณฑ์อุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์สามารถแบ่งตามวิธีการวัดไข้ได้ ดังนี้
- อุณหภูมิปกติทางรักแร้ คือ 34.7-37.3 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิปกติทางหู คือ 35.8-38.0 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิปกติทางทวารหนัก คือ 36.6-38 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิปกติทางปาก คือ 35.5-37.5 องศาเซลเซียส
และสำหรับคำถามที่ว่า วัดไข้ใต้ลิ้น อุณหภูมิปกติเท่าไหร่ คำตอบคือ 35.5-37.5 องศาเซลเซียส นั่นเอง
วัดไข้ใต้ลิ้น ใช้เวลากี่นาที
การวัดไข้ใต้ลิ้น หากเป็นปรอทวัดไข้แบบแก้ว หรือปรอทวัดไข้แบบธรรมดาทั่วไป ระยะเวลาที่ใช้วัดประมาณ 3-4 นาที แต่หากเป็นปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลให้รอจนกว่าจะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น จากนั้นนำปรอทแบบดิจิตอลออกจากปากเพื่ออ่านค่า หรือตรวจสอบอุณหภูมิในลำดับต่อไป
ปรอทวัดไข้ทางปาก ที่นิยมใช้วัดอุณหภูมิใต้ลิ้น
1.ปรอทวัดไข้แบบแก้ว
ปรอทวัดไข้แบบแก้ว เรียกได้ว่าเป็นที่วัดไข้ที่มีมาอย่างยาวนาน ข้อดีคือมีราคาไม่แพง และสามารถใช้วัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ แต่ข้อเสียคือแตกง่าย ยิ่งวัดไข้ในช่องปาก ยิ่งต้องระวัง สาเหตุก็เพราะปรอทวัดไข้แบบแก้วมีสารพิษที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเราด้วย
โดยเฉพาะสารปรอท หากร่างกายของเราได้รับสารปรอทในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะการได้รับสารปรอทโดยตรงทางปาก เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด ปากมีแผลอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ นอกจากนั้นสารปรอทยังมีอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ด้วยเช่นเดียวกัน
2.ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล
ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ คือ ปรอทวัดไข้ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนปรอทวัดไข้แบบแก้ว โดยสามารถใช้วัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากปราศจากสารปรอท โดยปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลนั้นจะสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งจะมีเสียงสัญญาณดังขึ้นเมื่อสามารถวัดอุณหภูมิได้แม่นยำ
แถมปรอทวัดไข้ดิจิตอลยังสามารถอ่านค่าแบบเป็นตัวเลขผ่านหน้าจอดิจิตอลได้ด้วย โดยระบบจะประมวลผลใช้เวลาประมาณ 60 วินาที แต่ข้อเสียก็คือมีราคาสูงกว่าปรอทวัดไข้แบบแก้วหรือแบบธรรมดา ข้อควรระวังในการใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลก็คล้ายกับปรอทวัดไข้แบบแก้ว คือ ระวังอย่างให้แตก หรือตกพื้น เพราะอาจทำให้ความสามารถในการวัดอุณหภูมินั้นคลาดเคลื่อนได้
ขั้นตอนการวัดไข้ใต้ลิ้น
1.ตรวจเช็คช่องปากก่อนการวัดไข้ใต้ลิ้น
ขั้นตอนแรกก่อนการวัดไข้ใต้ลิ้นควรตรวจดูภายในช่องปากว่าไม่มีสิ่งใดตกค้างอยู่ เช่น ลูกอม ขนม เศษอาหาร หรือหมากฝรั่ง เป็นต้น หลีกเลี่ยงการวัดไข้ใต้ลิ้นทันทีหลักจากดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น และควรหลีกเลี่ยงการ วัดไข้ทางปาก ทันทีหลังจากรับปะทานอาหารเสร็จใหม่ๆ เพราะอาจทำให้อุณหภูมิการวัดไข้ใต้ลิ้นเกิดการคาดเคลื่อนได้ ควรรออย่างน้อย 20-30 นาทีแล้วค่อยเริ่มวัดไข้ใต้ลิ้น
2.สอดปรอทวัดไข้เข้าไปในช่องปากเพื่อวัดไข้ใต้ลิ้น
เมื่อตรวจเช็คดูความเรียบร้อยในช่องปากแล้วว่าไม่มีสิ่งใดตกค้างอยู่ หรือรอจนกว่าจะครบ 20-30 นาทีหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมาให้นำเทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้สอดเข้าไปในช่องปาก โดยให้ส่วนปลายตรงบริเวณที่วัดค่าอุณหภูมิอยู่ตรงตำแหน่งใต้ลิ้น จากนั้นปิดปากลงให้สนิทชั่วครู่ ห้ามเคี้ยว และระวังอย่างให้ฟันไปกัดโดน เพราะอาจทำให้ปรอทวัดไข้แตกได้ในขณะที่วัดไข้ใต้ลิ้น
3.รอผลการตรวจวัดอุณหภูมิใต้ลิ้น
สำหรับปรอทวัดไข้แบบแก้วควรรอประมาณ 3-4 นาที เพื่อให้แถบสารปรอทหยุดนิ่ง จากนั้นจึงนำปรอทวัดไข้ออกจากปากและอ่านค่าได้ แต่ถ้าเป็นปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลให้รอจนกว่าจะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น จากนั้นจึงนำออกจากปาก เพื่ออ่านค่า หรืออ่านผลการวัดไข้ใต้ลิ้นตามปกติ
อยากปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์วัดไข้
หากใครกำลังสังสัยเกี่ยวกับ อุปกรณ์เครื่องมือวัดไข้ รุ่นต่างๆ วิธีใช้งาน สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ในช่องแชทไม่ว่าจะเป็น LINE ID : @Rakmor หรือโทร 062-696-8628 Rakmor เรายินดีให้คำปรึกษาแนะนำสินค้าที่ดีที่สุดที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ
สิ่งที่ต้องระวังเมื่อวัดไข้ใต้ลิ้น
- ไม่ควรใช้ปรอทวัดไข้ใต้ลิ้นกับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
- ในขณะที่วัดไข้ใต้ลิ้นห้ามกัด ห้ามเคี้ยวปรอท เพราะอาจทำให้ปรอทแตกได้
- ในขณะที่วัดไข้ใต้ลิ้น ไม่ควรหายใจทางปาก
- ไม่ควรวัดไข้ทางปากทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ควรเว้นระยะเวลา 20-30 นาที
- ไม่ควรดื่มน้ำเย็น หรือน้ำร้อน ก่อนวัดไข้ใต้ลิ้น
การวัดไข้ใต้ลิ้น หรือ วัดไข้ทางปาก เป็นอีกหนึ่งวิธีการวัดอุณหภูมิที่มีความแม่นยำสูง ปรอทวัดไข้ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ ปรอทวัดไข้แบบแก้ว และปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล ถ้าพูดถึงความปลอดภัย แน่นอนว่าปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลย่อมมีความปลอดภัยมากกว่า ทั้งนี้ก็ต้องใช้งานปรอทวัดไข้ให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรอทวัดไข้ หรือ เครื่องวัดไข้ ก็สามารถติดต่อสอบถามทีมงาน RAKMOR – รักหมอ ร้านขายเครื่องมือแพทย์ – อุปกรณ์การแพทย์ ได้ตลอดเวลาเลยนะคะ เราพร้อมให้คำแนะนำที่ดีที่สุด เพื่อให้ท่านได้รับที่วัดไข้ที่ดี และเหมาะสมกับใช้งานคร้า 😉 ซึ่งสามารถติดต่อเราผ่านช่องทางด้านล่างได้เลย !
– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical