ความเข้มข้นของเลือด คืออะไร ?
ความเข้มข้นของเลือด คือ ปริมาตรของเซลล์เลือดแดงที่อยู่ในเลือด ด้วยการควบแน่นกับสารประกอบของโปรตีน เช่น ฮีโมโกลบิน ที่เป็นตัวทำหน้าที่ลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดแดงไปยังส่วนต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย อีกทั้งปริมาณความหนาแน่นของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในเลือด ก็ยังเป็นสิ่งที่สามารถช่วยบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพต่างๆ มากมายที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของเราได้ ดังนั้นความเข้มข้นของเลือด จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ จำเป็นต้องมีการตรวจหาความเข้มข้นของเลือดเพื่อป้องกันการเกิดความเสี่ยงหรือส่งผลกระทบกับร่างกายได้นั่นเอง
การตรวจความเข้มข้นของเลือด คืออะไร ?
การตรวจความเข้มข้นของเลือด หรือการวัดค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) คือ การวัดเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของปริมาณเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในเลือดทั้งหมด ซึ่งการตรวจความเข้มข้นของเลือดนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะหากมีปริมาณเม็ดเลือดในระดับที่ผิดปกติ ก็จะเป็นตัวที่สามารถบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพที่อาจจะตามมาในอนาคตนั่นเอง
ความเข้มข้นของเลือดปกติเท่าไหร่ ?
สำหรับความเข้มข้นของเลือดนั้น หากจะวัดเพื่อตรวจสอบความปกติของเลือดก็มักจะพิจารณาจากเพศและอายุ เพราะในเพศชายและเพศหญิงนั้นจะมีระดับความเข้มข้นของเลือดที่แตกต่างกัน โดยในเพศชายจะมีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 38%-50% และในเพศหญิงจะมีความเข้มข้นประมาณ 36%-45% และอย่างที่ได้กล่าวไปว่าอายุก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ดังนั้นสามารถแบ่งความเข้มข้นของเลือดตามอายุ ได้ดังนี้
- เด็กทารกแรกเกิด มีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 55-68%
- เด็กอายุ 1 สัปดาห์ มีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 47-65%
- เด็กอายุ 1 เดือน มีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 30-36%
- เด็กอายุ 1 ปี มีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 29-41%
- เด็กอายุ 10 มีความเข้มข้นของเลือดประมาณ 36-40%
ค่าความเข้มข้นเลือด บอกอะไรได้บ้าง ? ทำไมถึงต้องตรวจ
ค่าความเข้มข้นของเลือด ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าความเข้มข้นของเลือดเป็นตัวที่สามารถช่วยบ่งบอกถึงอาการหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราได้ ซึ่งหลายคนในปัจจุบันนี้ก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าการตรวจหาค่าความเข้มข้นของเลือดนั้นดีอย่างไร ซึ่งการตรวจความเข้มข้นของเลือดจะมีประโยชน์ ดังนี้
- สามารถช่วยบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกาย เพื่อนำไปวินิจฉัยโรคบางอย่างได้
- สามารถบอกได้ว่าร่างกายมีการตอบสนองต่อการรักษาได้มากน้อยเพียงใด
- เป็นการตรวจเช็คองค์ประกอบของสุขภาพชนิดเลือดว่ามีสภาะการทำงานที่บกพร่องหรือไม่
- เพื่อตรวจดูสถานะของเชื้อโรค ไวรัส และอาการติดเชื้อต่างๆในร่างกาย
- เป็นตัวชี้วัดในการเลือกและห้าม การนำสารเคมีหรือรังสีบางชนิดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
วิธีตรวจความเข้มข้นของเลือด
ก่อนที่จะเริ่มตรวจความเข้มข้นของเลือด แพทย์จะจัดเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการตรวจค่าความเข้มข้นของเลือด จากนั้นจึงเริ่มการตรวจโดยใช้วิธีการตรวจแบบสากล คือ การเจาะเส้นเลือดดำในบริเวณข้อแขนหรือข้อมือ จากนั้นจะนำไปใส่ในหลอดแก้วที่บรรจุสาร EDTA เพื่อทำให้เลือดเกิดการแข็งตัว จึงจะนำไปหยดลงบนแผ่นสไลด์ จากนั้นจึงนำไปใช้ส่องกล้องจุลทรรศ์และทำการส่องโมเมกุลในตัวปริมาณของเลือดที่ได้ทำการหยดลงไปบนแผ่นสไลด์ เมื่อแพทย์ทำการตรวจสอบเสร็จแล้ว ก็จะบอกการวัดผลค่าความเข้มขนของเลือดได้เลยนั่นเอง
นอกจากนี้อีกวิธีที่ได้รับความนิยมในการตรวจหาค่าความเข้มข้นของเลือด ก็คือ การตรวจหาโดยใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน (Centrifuge) เพื่อแยกเอาส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาจากน้ำเลือด โดยใช้การสร้างแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางให้เกิดการหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้ได้เม็ดเลือดเลือดเพื่อนำไปหาความเข้มข้นของเลือดนั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของเลือด
1.การตั้งครรภ์
สำหรับการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของเลือดเป็นอย่างมาก เนื่องจากในระยะเวลาที่มีการตั้งครรภ์นั้นจะทำให้มีปริมาตรน้ำเลือดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของเลือดมีค่าน้อยกว่าปกตินั่นเอง
2.การมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
การที่ร่างกายมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง จะส่งต่อทำให้ความดันเลือดและจำนวนออกซิเจนในร่างกายลดลง ทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูงกว่าปกติ ถือเป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงต้องมีการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม : ออกซิเจนในเลือดต่ำ อันตรายไหม ? มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
3.การอยู่ในพื้นที่สูง
การที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่าระดับพื้นดินปกติ ทำให้ร่างกายต้องเร่งสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เพื่อลำเลียงออกซิเจนไปให้ร่างกาย ทำให้อาจมีค่าความเข้มข้นของเลือดที่สูงกว่าปกตินั่นเอง
หากค่าความเข้มข้นของเลือดผิดปกติ จะส่งผลอย่างไรกับร่างกาย
เนื่องจากค่าความเข้มข้นของเลือด เป็นสิ่งที่สามารถช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีค่าความเข้มข้นของเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ จึงควรหาสาเหตุและแนวทางรักษา ซึ่งรายละเอียดจะมีดังนี้
ความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าปกติ
แน่นอนว่าเมื่อพบว่าร่างกายในความเข้มข้นของเลือดที่ต่ำกว่าปกติ จะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่ามีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบางชนิด ขาดธาตุเหล็กหรือขาดสารอาหาร รวมทั้งยังสามารถมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคไขกระดูกมีความผิดปกติ หรือมีภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้ด้วยเช่นกัน
ความเข้มข้นของเลือดสูงกว่าปกติ
สำหรับความเข้มข้นของเลือดสูงกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากการขาดน้ำในปริมาณมาก เช่น คนที่ดื่มน้ำน้อย คนที่มีการอาศัยอยู่ในพื้นที่สูง ซึ่งค่าความเข้มข้นของเลือดที่สูงกว่าปกติ จะส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของร่างกาย เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือโรคเม็ดเลือดแดงมากเกินไปนั่นเอง
ค่าความเข้มข้นของเลือดถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะสามารถบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยบอกถึงความผิดปกติของร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งความเข้มข้นของเลือดในแต่ละคนนั้นมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรลองไปตรวจหาดู ด้วยการเจาะเลือดและนำไปส่องกล้องจุลทรรศ์ หรือตรวจด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน (Centrifuge) เพื่อเช็คค่าความเข้มข้นเลือดของตัวเองว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
และสำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอนแบบตั้งโต๊ะ แต่ยังไม่รู้จะหาซื้อที่ไหนดี ก็สามารถสั่งกับร้าน Rakmor ได้เลย เราเป็นร้านจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์แบบครบวงจร ทั้งราคาปลีก-ส่ง สินค้าจากหลากหลายแบรนด์ดัง รับรองว่าได้สินค้าคุณภาพดี ได้มาตรฐานอย่างแน่นอน
ขอใบเสนอราคาด่วน...คลิกแหล่งอ้างอิง :
https://www.samitivejchinatown.com/