วิธีลดเสมหะในผู้สูงอายุ ต้องทำอย่างไร อันตรายไหม มีคำแนะนำที่ทำตามได้จริงๆ มาฝาก

วิธีลดเสมหะในผู้สูงอายุ ต้องทำอย่างไร อันตรายไหม มีคำแนะนำที่ทำตามได้จริงๆ มาฝาก

ผู้สูงอายุมีเสมหะ

การที่ผู้สูงอายุมีเสมหะถือว่ามีความเสี่ยงหลายอย่าง และอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคที่รุนแรงได้  เช่น  โรคปอดอักเสบ โรคกรดไหลย้อน ติดเชื้อเรื้อรังที่ลำคอ โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคไซนัส ฯลฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ซึ่งร่างกายไม่ได้ขยับเขยื้อนหรือขยับเขยื้อนน้อย ก็มีโอกาสเกิดเสมหะได้มาก

เมื่อผู้สูงอายุมีเสมหะทำให้ผู้ดูแล หรือบุตรหลายเกิดความกังวลใจไม่ใช่น้อย บางคนสงสัยว่าผู้สูงอายุมีเสมหะเยอะหรือมีเสมหะสีผิดปกติ อันตรายหรือไม่ เพื่อคลายความสงสัย เราได้รวบรวมคำตอบไว้แล้ว รวมถึงจะมาแนะนำ วิธีลดเสมหะในผู้สูงอายุ ว่าต้องทำอย่างไร ถ้าทุกคนอยากรู้ เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย

ผู้สูงอายุมีเสมหะเยอะ อันตรายหรือไม่

เมื่อมีเสมหะติดในลำคอ หากเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวหรือคนวัยทำงาน มักสร้างความรำคาญใจไม่ใช่น้อย แต่บุคคลเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้น เช่น ไอแรงๆ เมื่อขับเสลดหรือขับเสมหะออกมา

แต่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากหรืออายุ 80 ปีขึ้นไป จะไม่ค่อยมีแรงไอ เพื่อขับเสมหะให้ออกมาได้ โดยเฉพาะเสมหะที่เหนียวข้น ยิ่งเป็นเรื่องยาก ดังนั้นหากมีเสมหะเหนียวข้นติดคอ ก็อาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ และอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น หายใจไม่สะดวก

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ดูดเสมหะเจ็บไหม การดูดเสลดในผู้ใหญ่เจ็บกว่าเด็กจริงหรือไม่ อ่านได้ที่นี่ มีข้อมูลจาก Pantip มาฝาก

เสมหะผู้สูงอายุมีสีผิดปกติ อันตรายไหม

สีของเสมหะเป็นตัวบ่งบอกถึงโรคหรืออาการที่แตกต่างกันออกไป หากเป็นเสมหะสีใส อาจเกิดจากไข้หวัดธรรมดา หรือโรคภูมิแพ้ ซึ่งเสมหะที่มีสีใสมักพบเจอได้ทั่วไปทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานหรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ส่วนเสมหะที่มีสีผิดแปลกไปจากนี้ ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจมีความรุนแรงเท่ากัน เกิดจากโรคชนิดเดียวกัน หรืออาจรุนแรงมากกว่าก็เป็นได้ ดังนี้

  • เสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว : เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคทางพันธุ์กรรมที่ส่งผลต่อสารคัดหลั่งในร่างกายทำให้มีความเหนียวข้น
  • เสมหะสีแดง : คือ สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะเลือดออกภายในร่างกาย หรืออาจเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นปอด และวัณโร
  • เสมหะสีน้ำตาล : เสมหะสีน้ำตาล เป็นไปได้ว่าเกิดจากเลือดกำเดาที่คั่งค้างในร่างกาย ทำให้ปะปนออกมาพร้อมกับเสมหะ อาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม โรคพยาธิในปอด โรคฝีในปอด และโรคฝุ่นจับปอดได้
  • เสมหะสีดำ : เสมหะสีดำ อาจเกิดจากโรคฝุ่นจับปอด โรคฝีในปอด โรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา บางครั้งมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ นอกจากนั้นหากการไอที่รุนแรงผิดปกติ หรือพบความผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุควรรีบไปแพทย์ทันที อาจเกิดอันตรายที่ร้ายแรงตามมาได้
ขับเสมหะในคอ มีวิธีการอย่างไร

วิธีลดเสมหะในผู้สูงอายุ ต้องทำอย่างไร

1.สำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ซึ่งบางครั้งไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายไปมาหรือขยับร่างกายน้อย บุตรหลายหรือผู้ดูแล ควรทำกายภาพบำบัดสม่ำเสมอหรือให้ผู้สูงอายุได้พลิกตัวไปมาบ้าง

2.เคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ โดยการเคาะปอด ช่วยระบายเสมหะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง วิธีเคาะปอด มีดังนี้

  • ทำมือให้เป็นอุ้งหรือรูปถ้วย
  • เคาะบนผนังทรวงอก ควรมีผ้ารอง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
  • ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง จากนั้นใช้มือทั้งสองข้าง เคาะเป็นจังหวะสลับกับ เคาะสม่ำเสมอ อัตราการเคาะประมาณ 3-7 ครั้งต่อนาที เสียงที่เคาะจะกังวานและโปร่ง
  • สำหรับทิศทางการเคาะ ควรเป็นวงกลมหรือเคลื่อนไปมา การเคาะปอดใช้เวลาติดต่อกันนาน 2-5 นาที ต่อปอดกลีบหรือต่อท่า

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 7 วิธีขับเสมหะออกจากคอ ให้ปลอดโปร่ง ต้องทำอย่างไร พร้อมเผยสาเหตุที่ทำให้เกิดสเลดในคอ !

ถึงแม้ว่าการเคาะปอดจะช่วยให้เสมหะหลุดร่อนออกมาจากเนื้อปอดได้ รวมถึงทางเดินขึ้นมาสู่ทางเดินหายใจส่วนต้น แต่ก็มีข้อเสีย นั่นคือ อาจเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลม และมีผื่นแดงในบริเวณที่เคาะ การเคาะปอดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนั้น เพื่อให้คุณเข้าใจหรือมองเห็นภาพชัดเจนขึ้น สามารถศึกษาวิธีการเคาะปอดได้จากคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ 

ผู้สูงอายุมีเสมหะ ต้องทำอย่างไร 

สำหรับผู้สูงอายุที่มีเสมหะเยอะ มีเสมหะเหนียวข้น หรือไม่สามารถขับเสมหะออกมาได้เอง แนะนำให้ใช้อุปกรณ์การแพทย์อย่าง ” เครื่องดูดเสมหะ ” ซึ่งเป็นการใช้สายยางดูดเสมหะ ปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางจมูก หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ใส่เข้าไปในหลอดลม เช่น Tracheostomy Tube หรือ Endotracheal เป็นต้น เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ หรือเก็บเสมหะเพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อภาวะเสมหะอุดกั้นในทางเดินหายใจ อย่างที่บอกว่าไม่สามารถขับเสมหะได้เอง ทำให้มีเสมหะในปริมาณมากหรือเสมหะเหนียวข้น นอกจากนั้นยังเสี่ยงต่อภาวะเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจด้วย ทำให้มีอาการหายใจลำบาก หายใจเสียงดัง ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการบกพร่องออกซิเจน

อย่างไรก็ตามการขับเสมหะโดยใช้เครื่องดูดเสมหะช่วย จะต้องมีความระมัดระวัง บุตรหลายหรือผู้ดูแล จะต้องศึกษาขั้นตอน วิธีการที่ถูกต้อง เพราะหากใช้เครื่องดูดเสมหะผิดวิธี อาจทำให้การดูดเสมหะไม่มีประสิทธิภาพและยังอาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุด้วยเช่นเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ในระหว่างการดูดเสมหะให้กับผู้สูงอายุ ต้องแจ้งให้ผู้สูงอายุทราบเสมอ ว่ากำลังจะทำอะไร เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุตกใจหรือเกิดความกังวลใจ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 5 ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ มีอะไรบ้าง หากไม่ระมัดระวังให้ดี อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

สิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการดูดเสมหะในผู้สูงอายุ ก็คือ การเลือกซื้อเครื่องดูดเสมหะจากร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ถ้าจะให้ดีผู้ซื้อก็ควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์เชี่ยวชาญก่อนว่าควรเลือกซื้อเครื่อง Suction แบบไหนดี ถึงจะเหมาะกับการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุมากที่สุด

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *