เคล็ดลับ วิธีดูดเสมหะให้ทารกอายุ 1 เดือน ต้องทำอย่างไร ?ให้ปลอดภัยและไม่อันตราย บอกเลยว่าง่ายนิดเดียว

เคล็ดลับ วิธีดูดเสมหะให้ทารกอายุ 1 เดือน ต้องทำอย่างไรให้ปลอดภัยไม่อันตราย ง่ายนิดเดียว

เมื่อทารกมีเสมหะกลายเป็นความไม่มั่นใจของทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านรู้สึกกังวลใจไม่ใช่น้อย เมื่อต้องดูดเสมหะให้ลูกน้อยวัยแรกเกิด โดยเฉพาะการดูดเสมหะให้ทารกครั้งแรก ยิ่งทำให้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่รู้สึกกังวลหรือรู้สึกประหม่า กลัวว่าลูกน้อยจะได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอันตราย แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ เรียนรู้ ศึกษา และเข้าใจวิธีการดูดเสมหะให้ทารกอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป วันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีดูดเสมหะทารก 1 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ปลอดภัยแน่นอน

ทารกมีเสมหะ เกิดอะไร

  • อากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอากาศที่หนาวเย็น อาจทำให้ทารกเป็นไข้หวัดได้ ซึ่งมักจะเป็นไข้ตัวร้อน มีน้ำมูกไหลและมีเสมหะในลำคอ
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เช่น เชื้อโรค หรือฝุ่น ควัน มลพิษต่างๆ จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกลไกการหลั่งเสมหะ ออกมาเพื่อเคลือบลำคอ
  • ทารกมีภาวะหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการไอหรือไอเรื้อรัง และมีเสมหะหรือเสมหะคั่งค้างในหลอดลมได้

ทารกมีเสมหะ จะเป็นอันตรายไหม

ทารกมีเสมหะ อันตรายหรือไม่  ? เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านสงสัย

คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจและต้องระวังให้ดี เพราะหลายๆ คนเข้าใจว่าทารกเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา มีอาการไอ น้ำมูกไหล และมีเสมหะธรรมดา และไม่มีอันตราย ซึ่งหากเสมหะติดคอก็เสี่ยงที่เสมหะจะลงสู่ปอดได้ หากเสมหะลงปอดจะทำให้ปอดอักเสบหรือปอดบวมได้นั่นเอง ( การดูดเสมหะในผู้ใหญ่ ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน )

การดูดเสมหะเด็กทารก 1 เดือน จึงสำคัญอย่างมาก ๆ และไม่ควรมองข้าม การที่ไม่มีน้ำมูกไหลหรือเสมหะคั่งค้างในปอดจะทำให้ทารกหายใจสะดวกมากขึ้น สามารถดูดนมได้ ร้องไห้งอแง นอนหลับสบาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญหา  

การดูดเสมหะทารก 1 เดือน มีวิธีอย่างไร

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูดเสมหะทารก 1 เดือน มีอะไรบ้าง

  • ลูกยางแดง : เลือกขนาดที่เหมาะสมกับทารก เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ และเพื่อการดูดเสมหะที่มีประสิทธิภาพ โดยเด็กเล็กในขวบปีแรก ควรเลือกลูกยางแดงเบอร์ 0-2 แต่สำหรับเล็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ควรใช้ลูกยางแดดดูดเสมหะเบอร์ 2-4
  • น้ำเกลือ 0.9% Normal Saline : ในกรณีที่เสมหะข้นและเหนียวมาก ต้องใช้น้ำเกลือ 0.9% Normal Saline สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาทั่วไป ใช้สำหรับหยอดน้ำเกลือลงในจมูกทารก เพื่อช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้น
  • ผ้าห่อตัวสำหรับทารก : หากทารกดิ้นให้ใช้ผ้าห่อตัวสำหรับทารก เพื่อป้องกันการดิ้นในขณะที่คุณพ่อคุณแม่กำลังดูดเสมหะ
  • กระดาษทิชชู่ : ใช้กระดาษทิชชู่สำหรับเช็ดทำความสะอาด
  • ภาชนะรองเสมหะและสารคัดหลั่ง : หาภาชนะมารองเสมหะและสารคัดหลั่ง ที่ดูดออกมาจากจมูกหรือปากของทารก

วิธีดูดเสมหะทารก อายุ 1 เดือน ให้ปลอดภัย ต้องทำอย่างไร

การดูดเสมหะทารกด้วยลูกยางแดง

1.ใช้ผ้าห่อตัวทารกให้แน่นกระชับ แต่ไม่แน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้ทารกหายใจไม่ออกได้ โดยเตรียมเด็กให้อยู่ในท่านอน พร้อมกับยกศีรษะให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกสำลัก

2.ในกรณีที่เสมหะค่อนข้างเหนียว ให้นำน้ำเกลือสำหรับหยอดจมูก เพื่อช่วยละลายเสมหะ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือขึ้นมา จากนั้นสอดปลายของกระบอกเข้าไปในจมูกทารกอย่างเบามือ ตามด้วยการหยอดน้ำเกลือลงไปประมาณ 2-3 หยด

3.ถึงขั้นตอนการดูดเสมหะด้วยลูกยางแดง ให้บีบลูกยางแดง เพื่อไล่ลมออก เสร็จแล้วให้ค่อยๆ สอดลูกยางแดงเข้าไปในจมูกทารก อย่างเบามือ สอดเข้าไปให้ลึกพอสมควร ปล่อยลูกยางแดงช้า เพื่อดูดเสมหะ จากนั้นบีบเสมหะหรือน้ำมูกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้

4.ทำการดูดเสมหะทารกซ้ำตามขั้นตอนเดิม จนกว่าทารกจะไม่มีน้ำมูก

ดูดเสมหะทารก 1 เดือน แบบไหนปลอดภัยกว่า

การดูดเสมหะทารก จริงๆ แล้วมีด้วยกัน 2 วิธี นอกจากดูดเสมหะด้วยลูกยางแดงแล้ว ยังสามารถดูดเสมหะด้วยเครื่องดูดเสมหะได้เช่นเดียวกัน แต่การดูดเสมหะแบบไหนจะปลอดภัยกว่านั้น เราจะมาเปรียบเทียบเพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

ดูดเสมหะทารก 1 เดือนด้วยลูกยางแดง

เด็กทารกหรือเด็กแรกเกิดที่มีอายุประมาณ 1 เดือน เหมาะที่จะดูดเสมหะโดยใช้ลูกยางแดง ซึ่งเป็นวิธีการดูดเสมหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากง่ายและมีความปลอดภัยมากกว่าหรือเสี่ยงน้อยกว่า แถมลูกยางแดดดูดเสมหะยังราคาไม่สูง สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ ตามร้านขายทั่วไป

ดูดเสมหะทารก 1 เดือนด้วยเครื่องดูดเสมหะ

การดูดเสมหะทารกด้วยเครื่องดูดเสมหะหรือ Suction ในทารกแรกเกิด โดยใช้เครื่องดูดเสมหะ แม้ว่าจะเป็นวิธีที่สะดวกสบาย ทันสมัย ไม่ยุ่งยาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าค่อนข้างอันตรายพอสมควร เนื่องจากทารกแรกเกิดหรือทารกอายุเพียงแค่ 1 เดือน ถือได้ว่ามีโครงสร้างทางร่างกายที่ยังไม่สมบูรณ์ หากคุณพ่อคุณแม่ใช้เครื่องดูดเสมหะที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี หรือไม่ได้รับการดูดเสมหะโดยผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการดูดเสมหะด้วยลูกยางแดงจะปลอดภัย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลย หากใช้ผิดวิธีก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจการใช้งาน และทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง โดยสามารถศึกษาข้อมูลหรือทำตามขั้นตอนที่เราแนะนำไปแล้วในข้างต้นได้เลย ที่สำคัญจะต้องดูดเสมหะทารก 1 เดือน ด้วยความระมัดระวัง ทำทุกขั้นตอนอย่างเบามือ เพื่อให้การดูดเสมหะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อทารกมากที่สุด

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *