เสมหะลงปอด ในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการเป็นอย่างไร อันตรายไหม รีบอ่านก่อนจะสายเกินไป !

เสมหะลงปอด ในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการเป็นอย่างไร อันตรายไหม รีบอ่านก่อนจะสายเกินไป !

เสมหะลงปอด

การที่เสลด หรือ เสมหะลงปอด ในเด็กและผู้ใหญ่ อาจสร้างอันตรายมากกว่าที่คุณคิด โดยเสมหะเกิดจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าไประคายเคืองหลอดลม อาจเกิดจากมลพิษ ควันบุหรี่ เชื้อโรค หรือไวรัส  ร่างกายจะสร้างเสมหะขึ้นมา เพื่อเคลือบลำคอ แต่ถ้าร่างกายสร้างเสมหะเยอะจนเกินไป ก็จะทำให้มีเสมหะจับตัวเป็นก้อน เหนียวข้นหรือมีเสมหะเยอะ บางครั้งอาจไปติดที่ลำคอและสร้างความรำคาญ หรือหากเลวร้ายไปกว่านั้น คือ เกิดภาวะเสมหะลงปอด

เสมหะลงปอดอันตรายไหม

เมื่อเสมหะลงปอดจะส่งผลให้ปอดติดเชื้อ เชื้อที่ว่านี้ ก็คือ เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของเราแล้วลงลึกไปถึงปอด ถือได้ว่าเป็นด่านสุดท้ายของทางเดินหายใจ เมื่อไหร่ก็ตามที่เชื้อโรคลงสู่เนื้อปอด ซึ่งอาจมาในรูปแบบเสมหะ อาจทำให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้ หรือทำให้เกิดโรคปอดติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หากเสมหะลองปอดแล้วไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และรีบเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

นอกจากนั้นโรคปอดติดเชื้อ ยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น การเกิดฝีหรือเกิดหนองที่ปอด เกิดภาวะมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด หรือเชื้ออาจเกิดการกระจายลุกลามออกจากปอดไปสู่กระแสเลือดและวิ่งเข้าสู่ร่างกาย ทำลายอวัยวะอื่นๆ ถือได้ว่าเป็นอันตรายมาก

เสมหะลงปอด อาการเป็นอย่างไร

1.เสมหะลงปอดผู้ใหญ่

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ก็คือ การไอบ่อย มีเสมหะเยอะ เสมหะเหนียวข้น  หายใจเร็ว หายใจลำบาก บางรายมีไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น เกิดภาวะร่างกายอ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ และเจ็บชายโครงเมื่อหายใจเข้า-ออก

คลิกอ่านเพิ่มเติม : การดูดเสมหะในผู้ใหญ่ เจ็บไหม มีวิธีการดูดเสมหะผู้ใหญ่อย่างไรบ้าง ต้องอ่านก่อนลงมือจริง ๆ

2.เสมหะลงปอดเด็ก และ อาการเสมหะลงปอดในทารก

เมื่อเกิดภาวะเสมหะลงปอดในเด็กหรือทารก บางครั้งเด็กอาจไม่สามารถสื่อสารหรือบอกความต้องการได้ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตอาการให้ดี สำหรับอาการที่พบบ่อยในเด็กหรือเด็กทารก ก็คือ มีไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบหรือหายใจลำบาก ปีกจมูกบาน ขณะหายใจมีชายโครงหรือหน้าอกบุ๋ม ปากเขียว มีอาการเจ็บหน้าอก

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ดูดเสมหะทารก อย่างไรให้น้องไม่เจ็บ มีวิธีการดูเสลดในเด็กอย่างไรบ้าง

เสมหะลงปอด ต้องทำอย่างไร

  • มื่อเกิดภาวะเสมหะลงคอ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการของโรค
  • หากพบว่ามีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะมารับประทาน
  • หากมีอาการในระยะแรกหรือไม่รุนแรง แพทย์จะให้กลับมานอนพักรักษาตัวที่บ้านและเฝ้าระวัง ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  • ดื่มน้ำให้มากๆ ในกรณีที่เกิดกับเด็ก ผู้ปกครองต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ควรได้รับการบำบัดที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การฝึกไอ เพื่อระบายเสมหะ หรือการดูดเสมหะ เป็นต้น
  • ใช้ยาละลายเสมหะ หากเสมหะเหนียวข้น ทานน้ำได้น้อย แต่สำหรับเด็กไม่ควรทานยากดการไอ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเข้าไปคั่งในปอดมากขึ้น
  • เมื่อมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมาก ไข้ขึ้นสูง อาการไม่ดีขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ควรรีบกลับไปพบแพทย์ทันที

คลิกอ่านเพิ่มเติม : เครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดี กำจัดสเลดของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อเมื่อเสมหะลงปอด

  • หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ที่มีผู้คนแออัด โดยเฉพาะเด็กเล็กหรือเด็กทารก ไม่ควรพาเด็กไปยังสถานที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ฯลฯ
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดเสมอหรือจัดการสภาพแวดล้อมโดยรอบให้สะอาด หลีกเลี่ยง อากาศที่หนาวเย็นเกินไป หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ มลพิษ หรือควันจากท่อไอเสียของรถ
  • สำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอักเสบ
  • แนะนำให้เด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • แยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ เพื่อรักษาระยะห่าง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ
  • ให้จัดการหรือทำลายเชื้อที่มากับสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก และน้ำลาย
  • ผู้ป่วยควรสวมใส่หน้ากากอนามัย สำหรับคนโต และต้องปิดปากเมื่อจามหรือไอ
  • ถ้าไม่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์อนุญาตให้กลับมาพักผ่อนอยู่บ้านได้ ไม่ควรออกไปไหน อย่างน้อย 2-3 วัน เนื่องจากในระยะแรก เป็นช่วงที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้สูง
  • ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย นอกจากนั้นยังช่วยให้ปอดของเรามีโอกาสติดเชื้อน้อยลงด้วย

เมื่อเสมหะที่เหนียวข้น หรือมีเสมหะเยอะ แต่กลับไม่ได้รับการรักษา การดูแลอย่างถูกต้อง ถูกวิธี อาจเกิดภาวะเสมหะลงปอดได้ และผลที่ตามมาก็คือโรคที่เกี่ยวกับปอดหรือปอดติดเชื้อ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ โดยภาวะเสมหะลงปอดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กทารก ไปจนถึงผู้ใหญ่ แม้กระทั่งผู้สูงอายุก็ตาม โดยภาวะเสมหะลงปอดนี้ อาจมีอันตรายที่รุนแรงถึงชีวิตได้

การดูดเสมหะด้วย เครื่องดูดเสมหะ หรือ เครื่อง Suction นับว่าเป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะ เพราะจะช่วยทำให้เสมหะลดลงได้ แต่การใช้เครื่องดูดเสมหะก็ต้องระมัดระวัง ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ กันด้วย ถ้าจะให้ดีก็ควรขอรับคำแนะนำจาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องดูดเสมหะเสมอ

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *