สายสวนปัสสาวะ ผู้ชาย ผู้หญิง ที่ทำความสะอาดง่ายที่สุด
สายสวนปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะ (Urinary Catheterization) เป็นอุปกรณ์สำหรับผู้ที่มีการปัสสาวะลำบาก โดยการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะ จุดประสงค์การใช้งานสายสวนปัสสาวะ คือ เพื่อระบายปัสสาวะออกในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะเองได้หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด แต่การใช้งานสายสวนปัสสาวะจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน ทั้งสายสวนปัสสาวะชาย และ สายสวนปัสสาวะผู้หญิง
การสวนปัสสาวะ คืออะไร
การสวนปัสสาวะ คือ การสอดใส่สายสวน จากภายนอกผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ โดยแบ่งตามเทคนิคออกได้ 2 ชนิด คือ การสวนปัสสาวะแบบครั้งคราว (intermittent catheterization) และ การสวนปัสสาวะแบบคาสาย (indwelling catheterization or retained catheterizations: IUCs) ในปัจจุบันมักจะหลีกเลี่ยงการคาสายปัสสาวะทิ้งไว้ในกระเพาะปัสสาวะนาน ๆ และหันมาใช้การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราวหรือการสวนปัสสาวะแบบสวนทิ้งแทน เพราะมีเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ การคาสายทิ้งไว้ในท่อปัสสาวะนาน ๆ เปรียบเหมือนดาบสองคม แม้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะได้สะดวกขึ้น แต่ก็อาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น คนไข้จะต้องมาเปลี่ยนสายทุก ๆ 1 เดือน หรือต้องมาก่อนถ้าสายยางตัน ในบางกรณีอาจมีอาการเจ็บมีนิ่วหรือมีเลือดออก มีอาการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราวยัง แบ่งได้อีก 2 แบบ คือ
1.การสวนปัสสาวะด้วยตนเอง
2.ให้ผู้อื่นสวนปัสสาวะให้ในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
การใช้สายสวนปัสสาวะ มีประโยชน์อย่างไร
ปัจจุบันมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่พบกับปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะออกโดยไม่รู้ตัว บ่อยครั้งที่การรักษาโดยใช้การยาหรือผ่าตัดไม่สามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นได้ สำหรับประโยชน์ของการใช้สายสวนปัสสาวะแบบครั้งคราวมีดังต่อไปนี้
- อาจทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะกับเข้าสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น
- ช่วยลดปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการเสื่อมสภาพของไตได้
- ทำให้คนไข้เป็นตัวของตัวเองและไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น หรือเป็นภาระต่อผู้อื่นน้อยที่สุด
- ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น คนไข้สามารถเข้าสู่สังคมได้โดยไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
- ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาภาวะแทรกซ้อนและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการคาสายยางทิ้งไว้
สายสวนปัสสาวะมีกี่แบบและกี่เบอร์
1.สายสวนปัสสาวะ 2 หาง 2 ทาง
สายสวนปัสสาวะ 2 หาง 2 ทาง ปัจจุบันมี 3 ขนาด หรือ 3 เบอร์ คือ เบอร์ 14 (สีเขียว), เบอร์ 16 (สีส้ม) และเบอร์ 18 (สีแดง) การใช้งานสายสวนปัสสาวะ 2 หาง 2 ทางควรเลือกขนาดสายสวนปัสสาวะที่เหมาะสม สายสวนปัสสาวะที่ผลิตจากยางธรรมชาติ สายสวนปัสสาวะแบบซิลิโคน หรือเคลือบผิวด้วยซิลิโคนอย่างดีและผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยเพื่อลดอาการแพ้
2.สายสวนปัสสาวะ 3 หาง 3 ทาง
สายสวนปัสสาวะ 3 หาง 3 ทาง ช่องแรกเป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกมา ช่องที่ 2 เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นบริสุทธิ์ และช่องที่ 3 เป็นทางสำหรับใส่น้ำเกลือหรือน้ำยาเข้าไปเพื่อชะล้างกระเพาะปัสสาวะ ปัจจุบันสายสวนปัสสาวะแบบนี้มีให้เลือกหลายเบอร์ เช่น สายสวนปัสสาวะเบอร์ 12, สายสวนปัสสาวะเบอร์14, สายสวนปัสสาวะเบอร์ 16, สายสวนปัสสาวะเบอร์18, สายสวนปัสสาวะเบอร์ 24
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้สวนปัสสาวะ มีอะไรบ้าง
1.สายสวนปัสสาวะ
2.สำลีสะอาด
3.กระจกเงา (สำหรับผู้ที่สวนปัสสาวะด้วยตนเอง ที่ยังไม่มีความชำนาญ เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น)
4.ภาชนะ 2 ใบ (ใบเล็กใช้สำหรับใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ใบใหญ่ใช้ใส่น้ำปัสสาวะที่สวนออกมา)
5.น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเซฟฟร่อน ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Zephron)
6.น้ำต้มสุก 500 มิลิลิตร ( CC )
7.เยลลี่ที่ใช้สำหรับหล่อลื่นสายสวนปัสสาวะก่อนที่จะสวนปัสสาวะ
การใช้สายสวนปัสสาวะ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง
1.ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด สบู่
2.ตรวจดูสภาพของชุดสวนปัสสาวะและวันที่หมดอายุ
3.เตรียมชุดสวนปัสสาวะในบริเวณแห้งสะอาดโดยวิธีปราศจากเชื้อ ดังนี้
- เปิดชุดสวนปัสสาวะแล้วคีบถุงมือและผ้าสี่เหลี่ยม แล้วเจาะตรงกลางออกวางในผ้าห่อชุดสวนปัสสาวะ
- คีบผ้าก๊อซและสำลีออกจากถ้วยเทน้ำยา Antiseptic Solution ลงในถ้วยใบที่ 1 และเทน้ำปราศจากเชื้อใส่ถ้วยใบที่ 2
- คีบสายสวนปัสสาวะใส่ลงในภาชนะรองรับปัสสาวะ
- ใส่สารหล่อลื่นปริมาณพอควรในภาชนะรองรับหรือผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ
- คีบถุงมือและผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางวางไว้บนภาชนะรองรับปัสสาวะและห่อชุดสวนปัสสาวะตามเดิม
4.เสร็จแล้วให้นำเครื่องใช้ในการสวนปัสสาวะไปที่เตียงผู้ป่วย
5.แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำอะไร เพื่อให้ผู้ป่วยไปชำระล้างทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยตนเอง หรือทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้
6.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย
7.ล้างมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์
ขั้นตอนการสวนปัสสาวะ แบบถูกวิธี ต้องทำอย่างไร
วิธีสวนปัสสาวะมี 2 วิธี ดังนี้
1.การสวนปัสสาวะปล่อยหรือสวนเป็นครั้งคราว
- ล้างมือให้สะอาด เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
- จัดท่าสวนปัสสาวะให้เหมาะสม หากเป็นผู้หญิงให้นั่งยองแยกขา นอนแยกขาออก 2 ข้าง หรือยืนโดยให้เท้าข้างหนึ่งเหยียบบนเก้าอี้ สำหรับผู้ชายให้ยืนนอนหรือนั่งก็ได้
- ทำความสะอาดบริเวณปากท่อปัสสาวะ
- จับสายสวนห่างจากปลายสายสวนปัสสาวะประมาณ 1 นิ้ว ทาเจลหล่อลื่นที่ปลายสวนปัสสาวะ เพื่อลดอาการระคายเคืองและลดการเจ็บ
- จากนั้นจึงใส่สายสวนปัสสาวะเข้าท่อปัสสาวะผู้หญิงใส่สายสวนเข้าไปลึกประมาณ 3 นิ้ว ผู้ชายใส่ลึกจนสุดสายสวนปล่อยให้น้ำปัสสาวะไหลลงภาชนะรองรับหรือโถส้วม
- เมื่อน้ำปัสสาวะหยุดไหลแล้วให้ดึงสายสวนออกทีละนิด
- ล้างบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และท่อปัสสาวะด้วยน้ำสะอาด โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด
2.การสวนปัสสาวะคาสายหรือสวนค้าง
- ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
- จัดเตรียมเครื่องมือในการใส่สายสวนปัสสาวะ
- จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ผู้หญิงให้นอนหงายชันเข่า ส่วนผู้ชายจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย
- ทาสารหล่อลื่นลงไปบนสายสวนปัสสาวะ เพื่อลดอาการระคายเคืองหรือลดอาการเจ็บปวด
- สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะ หากเป็นผู้หญิงให้ลึกอย่างน้อย 2-3 นิ้ว ผู้ชายสอดให้ลึกประมาณ 6-8 นิ้วหรือลึกจนสุด
- แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้อยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะของปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะชาย และ สายสวนปัสสาวะผู้หญิง มีความแตกต่างกันอย่างไร
สายสวนปัสสาวะชาย
ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดอาการบาดเจ็บ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้นขณะใส่สายสวนปัสสาวะผู้ชาย การทาสารหล่อลื่นก่อนสวนปัสสาวะควรทาให้ทั่วสาย เริ่มจากจุดปลายสุดของสายสวนปัสสาวะ สำหรับผู้ชายจะทาสารหล่อลื่นยาว 10-15 เซนติเมตร
สายสวนปัสสวะผู้หญิง
หากเป็นผู้หญิงจะทาสารหล่อลื่นที่สายสวนปัสสาวะผู้หญิง เริ่มจากจุดปลายสุดของสายสวนปัสสาวะเช่นเดียวกัน แต่ให้ทาสารหล่อลื่นยาวประมาณ 6 เซนติเมตร
วิธีการทําความสะอาดสายสวนปัสสาวะ ทำอย่างไร
- การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะหรือล้างสายสวนปัสสาวะ สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
- จากนั้นให้สะบัดน้ำออก เก็บสายสวนปัสสาวะไว้ในหลอดบรรจุที่มีน้ำยาทำลายเชื้อ
- หรือสามารถทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะและชุดสายสวนปัสสาวะ ด้วยการนำไปต้มน้ำให้เดือดอย่างน้อย 20 นาที พร้อมกับเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อที่แช่สายสวนปัสสาวะทุก ๆ 3 วัน
ข้อควรระวังในการใช้สายสวนปัสสาวะ มีอะไรบ้าง (สำคัญ จำเป็นต้องรู้)
- หลีกเลี่ยงการปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะและดูแลไม่ให้มีอาการหลวมหรือหลุด
- ให้พับสายใกล้ถุงเก็บปัสสาวะทุก ๆ ครั้งเมื่อมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือถุงเก็บปัสสาวะ
- ไม่ปล่อยให้ถุงปัสสาวะลากไปกับพื้น เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้
- สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มใส่สายสวนปัสสาวะ ควรใส่สายที่มีขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยฝึกยืนหรือฝึกเดิน จะต้องดูแลให้ถุงเก็บปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาณ 30 เซนติเมตร
- ให้หมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ หากรู้สึกแสบขัด ไม่สุขสบาย มีไข้ขึ้นสูง มีอาการปัสสาวะรั่วซึมบ่อยรอบ ๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะปัสสาวะ มีกลิ่นฉุน มีตะกอนออกมา ลักษณะคล้ายหนอง สีของปัสสาวะเข้มขึ้นหรือคล้ายน้ำล้างมือ อาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้
- ดูแลสายสวนปัสสาวะรวมถึงอุปกรณ์ใส่สายสวนปัสสาวะให้ดี ต้องมีความสะอาดสม่ำเสมอ และตรวจสอบสภาพก่อนใช้งาน เช่น ตรวจสอบว่าสายสวนปัสสาวะอุดตันหรือไม่
- เลือกสายสวนปัสสาวะที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ผลิตจากซิลิโคนเกรดดี มีความนุ่มและทำความสะอาดง่าย
สายสวนปัสสาวะซื้อได้ที่ไหนบ้าง
การซื้อสายสวนปัจจุบันสามารถหาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งทางเรา รักหมอ เมดิคอล ก็มีจำหน่ายสายสวนปัสสาวะชายและหญิงในราคาสุดพิเศษเช่นกันมีทั้งราคาส่ง-ปลีก หรือจะเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada ก็ได้เช่นกัน
หากไม่แน่ใจว่าควรเลือกซื้อสายสวนปัสสาวะแบบไหนดีที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีความสะอาดได้มาตรฐาน ก็สามารถคลิกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ RAKMOR ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่นี่