สายให้อาหาร อุปกรณ์ให้อาหารทางสายยางสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ปลอดภัย รับประกันคุณภาพ
สายให้อาหาร
สายให้อาหาร หรือ สายฟีดอาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ตามปกติ เช่น ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้มีภาวะอ่อนเพลีย ผู้ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการกลืน ฯลฯ
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ตามปกติแต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังสามารถทำงานได้ตามปกติจึงจำเป็นต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง เมื่อออกจากโรงพยาบาลต้องให้อาหารทางสายยางที่บ้านต่อ ก็สามารถหาซื้อสายให้อาหารได้ง่าย ๆ และปฏิบัติตามคำแนะของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การให้อาหารทางสายยาง
ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง แน่นอนว่าผู้ป่วยย่อมไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีพอ การให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลหรือญาติผู้ป่วย ต้องเรียนรู้วิธีการจัดเตรียม เรียนรู้ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยางอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะให้อาหารด้วย การให้อาหารสามารถทำได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น การให้อาหารทางจมูก การให้อาหารทางปาก การให้อาหารทางหน้าท้อง และเจาะคอให้อาหารทางสายยางให้อาอาหาร
สายให้อาหารแบบซิลิโคน ดีไหม
การใช้งานสายให้อาหารแบบซิลิโคน มีข้อดี คือใช้งานง่าย และสามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ จากแหล่งขายออนไลน์ทั่วไป แต่ต้องเลือกสายให้อาหารจากแหล่งขายที่เชื่อถือได้เท่านั้น สายยางให้อาหารซิลิโคน ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก
โดยเป็นซิลิโคนทางการแพทย์ 100% ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างดี ซิลิโคน วัสดุที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม สายยางให้อาหารซิลิโคน จุดเด่น คือ ความอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี ช่วยลดการระคายเคืองทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากขึ้น ทั้งนี้ บริเวณปลายควรออกแบบมาให้เรียวมนเพื่อให้การสวมใส่ง่ายขึ้น
ประเภทของอาหารที่ให้ผ่านทางสายยาง มีแบบไหนบ้าง
1.อาหารสูตรปั่นผสม (Blenderized formula)
อาหารสูตรนี้ใช้วัตถุดิบจากอาหารทั้ง 5 หมู่ ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ น้ำตาลและไขมัน ทำให้สุกก่อนปั่นให้เข้ากัน จากนั้นให้กรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออก เพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายยางได้ง่าย ข้อดีของสูตรนี้คือผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารครบถ้วน
2.อาหารสูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)
สูตรนี้ใช้นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่น น้ำตาล ไข่ น้ำมันพืช เป็นต้น ผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารมากขึ้น สำหรับสัดส่วนที่เหมาะสมของวัตถุดิบควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ อาหารสูตรน้ำนมผสมข้อดีคือเตรียมง่าย ใช้เวลาน้อย แต่เหมาะกับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
3.อาหารสูตรสำเร็จ (Commercial formula)
สูตรอาหารแบบสำเร็จจะมีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดที่ระบุไว้ที่ภาชนะ มีทั้งชนิดน้ำและชนิดผง สามารถนำไปละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด หรือแค่เปิดภาชนะบรรจุก็สามารถใช้ได้เลยทันที สูตรอาหารสำเร็จแบ่งออกเป็น 5 สูตรได้แก่ สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนม โปรตีนจากถั่วเหลือง โปรตีนจากนมและถั่วเหลือง โปรตีนขนาดโมเลกุลเล็ก และโปรตีนที่อยู่ในสภาพของกรดอะมิโน
สามารถให้อาหารทางสายยาง ทางไหนได้บ้าง
1.สายให้อาหารทางจมูก
การให้อาหารทางจมูกเป็นทางเลือกแรกเมื่อจำเป็นต้องให้อาหาร แถมสายอาหารทางจมูกยังมีราคาไม่แพงด้วย โดยสายให้อาหารทางจมูกราคาอยู่ที่เส้นละประมาณ 17-20 บาทมีทั้ง สาย ng สีส้ม สีขาว ฯลฯ มีหลายเบอร์ เช่น สายให้อาหารเบอร์ 18 สายให้อาหารเบอร์ 14 และสายให้อาหารเบอร์ 16 เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากสายให้อาหารทางจมูกตัน หรือ สาย ng ตัน อาจเกิดจากการบดยาหรืออาหารไม่ละเอียด บางครั้งอาหารอาจหนืดมากเกินไป ถ้าอุดตันสามารถใช้น้ำอุ่นค่อย ๆ ล้างและลองดูดด้วยกระบอกอาหาร ทั้งนี้ผู้ดูแลควรให้น้ำหลังให้อาหารหรือนมอย่างน้อย 20-30 ซีซี หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2.สายให้อาหารหน้าท้อง
ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางจมูกนาน 4- 6 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนมาให้อาหารทางหน้าท้องเพราะการให้อาหารทางจมูกเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ Gastrostomy สายให้อาหารทางหน้าท้อง เป็นการใส่สายยางเข้าไปในสายเจาะผ่านหน้าท้องเชื่อมไปถึงกระเพาะอาหาร สายให้อาหารทางหน้าท้องราคาไม่แพงสามารถสั่งซื้อได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ มีสายให้อาหารหน้าท้องแบบกระดุมจำหน่ายด้วย
3.สายให้อาหารทางปาก
สายให้อาหารทางปาก รูปแบบคล้ายกันกับสายให้อาหารทางจมูก แต่เปลี่ยนมาเป็นการให้อาหารทางปากแทน โดยใส่สายยางเข้าไปทางปาก เพื่อเชื่อมไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วย
4.เจาะคอให้อาหารทางสายยาง
สำหรับผู้ป่วยที่เจาะคอและต้องให้อาหารทางสายยาง ก่อนให้อาหาร หากผู้ป่วยมีเสมหะจะต้องดูดเสมหะออกก่อน เช่นเดียวกันหากต้องให้อาหารทางคอเป็นระยะเวลานานควรเปลี่ยนมาให้อาหารทางหน้าท้อง เพื่อลดการระคายเคืองทางคอและลดผลกระทบต่อเยื่อบุคอ ลดโอกาสการสำลักด้วย
สายให้อาหารเริ่มมีการอุดตัน ควรทำอย่างไร
หลังการใช้งานสายให้อาหารไปสักพัก ก็อาจจะเจอปัญหาสายให้อาหารตันได้ อาจเกิดจากการบดอาหารหรือบดยาไม่ละเอียดหรืออาหารหนืดเกินไป หากสายให้อาหารตันจะมีอาการหยดแบบช้า ๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้สายให้อาหารเกิดการอุดตันและผู้ป่วยไม่ได้รับปริมาณอาหารที่เพียงพอ ควรให้น้ำกับผ่านสายให้อาหารตามหลังอย่างน้อย 40 ซีซี หรืออาจขอคำแนะนำจากแพทย์
ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยเมื่อใส่สายให้อาหาร
- ระวังอย่าให้สายยางให้อาหารหลุดออกนอกกระเพาะ เพราะเมื่อให้อาหารอาจทำให้สายให้อาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมได้
- ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง หากสายให้อาหารหลุดออกหรือไม่ได้อยู่ในกระเพาะ ให้รีบไปพบแพทย์ ไม่ควรเปลี่ยนสายเอง
- ไม่ควรให้อาหารผู้ป่วยอย่างเร่งรีบ ควรให้อย่างช้า ๆ
- หยุดให้อาหารทันทีเมื่อผู้ป่วยสำลัก
- ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั้น 1 ชม. หลังให้อาหาร เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อนกลับ
สายให้อาหาร สามารถหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง
สายให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหาเองได้ หาซื้อได้ไม่ยากตามร้านอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไปแต่หากต้องการสายให้อาหาร หรือสายฟีดอาหาร ที่มีคุณภาพ ใช้วัสดุทางการแพทย์ 100% รับประกันไม่มีสายปนเปื้อนขอแนะนำ รักหมอ เมดิคอล ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ สามารถหาซื้อได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้ ที่นี่ เราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณสายให้อาหารที่ดีที่สุดไปใช้งาน