เครื่องช่วยฟัง ผู้สูงอายุ เครื่องช่วยการได้ยิน Hearing Aid สำหรับผู้พิการ คนแก่ คนหูตึง หูหนวก อุปกรณ์ช่วยฟัง แบบดิจิตอล/อนาล็อก

เครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์ช่วยฟังเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาทางการได้ยิน อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ประสาทหูเสื่อม คนหูตึง คนหูหนวก แบบชาร์จไฟได้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย รุ่นตัดเสียงรบกวน ดิจิตอลหรือใส่ถ่าน เครื่องช่วยฟังไร้สาย แบบใส่ในช่องหู ราคาถูก ขนาดจิ๋ว พกพาสะดวก

Original price was: 1,200.00 ฿.Current price is: 950.00 ฿.
Original price was: 1,200.00 ฿.Current price is: 950.00 ฿.
Original price was: 1,250.00 ฿.Current price is: 970.00 ฿.
Original price was: 2,300.00 ฿.Current price is: 1,850.00 ฿.
สินค้าหมดแล้ว
Original price was: 1,200.00 ฿.Current price is: 950.00 ฿.
สินค้าหมดแล้ว
Original price was: 2,300.00 ฿.Current price is: 1,850.00 ฿.

เครื่องช่วยฟัง คืออะไร

เครื่องช่วยหูฟัง คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยขยายเสียง ทั้งเสียงจากคำพูดและเสียงจากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยเครื่องช่วยฟังจะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ไมโครโฟนที่ใช้รับเสียง ทำหน้าควบคู่กับตัวขยายเสียง (Amplifier) ในการขยายเสียงที่รับเข้ามาชัดเจนมากขึ้น แล้วแปลงเป็นสัญญาณเสียงส่งผ่านลำโพง Receiver เข้าสู่ช่องหูของผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ช่วยให้ผู้พิการหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน คนหูตึง หูหนวก ผู้สูงอายุ คนแก่ สามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ตามปกติ

ระบบของเครื่องช่วยฟัง Hearing Aids

  • เครื่องช่วยฟังระบบอนาล็อก (Analog) : เป็นอุปกรณ์ช่วยฟังระบบธรรมดา ที่ใช้ระบบการขยายเสียงแบบเท่ากันในทุกสัดส่วน (Linear) ทำให้เสียงที่ส่งมาอาจถูกรบกวนได้ ไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัดหรือมีเสียงดังมากเกินไป
  • เครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล (Digital) : เป็นหูฟังช่วยฟัง ที่ใช้ระบบ Non-linear การขยายเสียงแบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยปรับระดับเสียงให้มีความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน การปรับลดหรือตัดเสียงรบกวน

เครื่องช่วยฟัง มีกี่แบบ อะไรบ้าง

1.เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind the ear : BTE)

เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู Behind the ear (BTE) มีกำลังขยายเสียงหลายแบบ สามารถปรับได้ตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงระดับมาก เหมาะสำหรับผู้ใช้งานหรือผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับน้อยจนถึงระดับรุนแรง ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทั้งในช่วงความถี่ต่ำหรือสูง ตัวเครื่องมีขนาดกระทัดรัด ไม่ใหญ่มาก พกพาง่าย ให้เสียงเป็นธรรมชาติ ในบางรุ่นมีระบบการเชื่อมต่อแบบบลูทูธ

2.เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In the ear : ITE)

เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู In the ear (ITE) เป็นเครื่องขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับระดับของการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วย โดยตัวเครื่องช่วยฟัง ประเภท ITE เหมาะกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับรุนแรง จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟังแบบ ITE เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่กำลังการขยายเสียงมีจำกัดตามขนาดตัวเครื่อง ไม่เหมาะกับช่วงความถี่ต่ำ

3.เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (In the canal : ITC)

เครื่องช่วยฟังแบบช่องหูขนาดกลาง In the canal (ITC) เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง พกพาง่าย ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก อาจจะหยิบจับยากสำหรับผู้สูงอายุหรือคนแก่ อายุการใช้งานอาจจะไม่มาก เนื่องจากข้อจำกัดของตัวเครื่อง ในบางรุ่นมีฟังก์ชันระบบการตัดเสียงรบกวน เครื่องช่วยฟังไร้สาย (Wireless) หรือการเชื่อมต่อบลูทูธ

4.เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู (Completely in canal : CIC)

เครื่องช่วยฟังแบบช่องหู Completely un canal (CIC) เป็นตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุด เมื่อเทียบกับทั้ง 2 รุ่นก่อนหน้านี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีสูญเสียการได้ยินได้ระดับน้อยจนถึงปานกลาง ตัวเครื่องมีขนาดขนาดเล็ก สังเกตเห็นได้ยาก กำลังขยายเสียงดี มีคุณภาพ ไม่มีเสียงแทรกซ้อน แต่อาจจะต้องเปลี่ยนถ่านหรือแบตเตอรี่บ่อย เนื่องจากข้อจำกัดของตัวเครื่อง

5.เครื่องช่วยฟังแบบทัดหูขนาดเล็ก (Receiver in canal : RIC)

เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู Receiver in the canal (RIC) ลักษณะตัวเครื่องจะคล้ายกับรุ่น BTE แต่จะมีสายแยกส่วนลำโพง (Receiver) ต่อไปยังช่องภายในหู เหมาะสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับเล็กจนถึงระดับรุนแรง ตัวเครื่องขนาดเล็กส่วมใส่สบาย ให้เสียงที่มีคุณภาพ แต่อาจจะต้องดูแลเครื่องเพิ่มมากขึ้น ในบางรุ่นจะเป็นเครื่องช่วยฟัง แบบชาร์จได้ แต่จะมีราคาที่สูงขึ้น

6.เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง (Body pocket)

เครื่องช่วยหูฟังรูปแบบกล่อง Body aid เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรง จนถึงขั้นหูหนวก ตัวเครื่องมีกำลังในการขยายเสียงสูง แต่เสียงจะไม่เป็นธรรมชาติมากนัก อีกทั้งตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับเครื่องช่วยฟัง ประเภทอื่นๆ พกพาได้ไม่สะดวก

NOTE : เครื่องช่วยฟังแบบใช้ถ่าน ตัวถ่านจะเป็นแบบเฉพาะ ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านทั่วไป หรือหาถ่านประเภทอื่นมาทดแทนได้

ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟังต่อผู้ใช้งาน

  1. ประสิทธิภาพการสื่อสาร : ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการพูดคุย ได้ยินเสียงพูดหรือเสียงรอบตัวชัดเจน ผู้ที่สื่อสารด้วยไม่ต้องพูดเสียงดัง
  2. กระตุ้นระบบประสาทและการฟังเสียง : ลดความเสี่ยงของประสาทหูและระบบประสาทของสมองเสื่อมถอยเร็วกว่าปกติ
  3. คุณภาพชีวิตดีขึ้น : ผู้ใช้งานที่ใส่เครื่องช่วยฟังสามารถฝึกฝนการฟังได้อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต เช่น ระบบเสียงเตือนภัยต่างๆ

เครื่องช่วยฟัง ราคาเท่าไหร่

ราคาเครื่องช่วยฟัง สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านการได้ยิน ในแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและเทคโนโลยี นวัตกรรมเครื่องช่วยฟัง ฟังก์ชันการประยุกต์ใช้ของเครื่อง ประสิทธิภาพการใช้งาน ระดับการประมวลผลของเสียง คุณภาพของช่องเสียง ประเภทของเครื่องช่วยฟัง รวมถึงการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย แบ่งแยกตามระดับของเครื่องตั้งแต่รุ่นพื้นฐาน รุ่นมาตรฐาน รุ่นแบบดิจิตอล หรือรุ่นในระดับสูง โดยจะมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท

ข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องช่วยฟัง

สำหรับวิธีการเลือกซื้อเครื่องช่วยฟังอย่างดีให้ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมต่อผู้ใช้งาน ผู้ป่วย หรือผู้พิการสามารถใช้งานได้ดี ควรพิจารณาจากหลักการเบื้องต้นดังนี้

  1. ระดับการสูญเสียหรือความบกพร่องทางการได้ยิน
  2. ความเหมาะตามการใช้งาน เช่น ใช้งานที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ
  3. งบประมาณในการลงทุนสำหรับการซื้อเครื่องช่วยฟัง
  4. ความสะดวกและความพึ่งพอใจในการใส่ที่ช่วยฟัง
  5. บริการหลังการขาย การติดตามผล เพื่อปรับเสียงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
  6. การรับประกันสินค้า การแก้ไขหากเครื่องช่วยหูฟังมีปัญหาเกิดขึ้น
  7. อุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง สำหรับการดูแลและทำความสะอาดหูฟังช่วยการได้ยิน
ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์

จำหน่ายเครื่องช่วยฟัง แบรนด์แท้ พร้อมรับประกัน รองรับทุกระดับการได้ยิน

Rakmor จัดจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง ทุกประเภทแบบครบวงจร มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ หรือผลิตในประเทศไทย ของแท้แบรนด์ดัง เครื่องช่วยฟังชั้นนำมากมาย พร้อมให้บริการทุกท่านในการแนะนำและการเลือกเครื่องช่วยฟัง ให้มีความเหมาะสมตามระดับการได้ยินของผู้ป่วย ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องช่วยฟัง ให้สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน รับประกันสินค้าทุกชิ้น รวมถึงบริการหลังการขายที่จะช่วยปรับระดับของเสียงให้เหมาะสมกับระดับการได้ยิน ทีมช่างที่ได้รับการอบรมที่คอยดูแลเครื่องช่วยฟังของท่านให้เรียบร้อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้พิการทางการได้ยินสามารถเบิกได้ฟรีทั้งสิทธิ์ของประกันสังคมและบัตรทอง โดยมีระเบียบเบื้องต้นดังนี้

  • บัตรทอง : เบิกได้ไม่เกิน 9,000 – 12,500 บาท (รวมเครื่องและค่าบริการ) โดยต้องเป็นเครื่องที่ผ่านเกณฑ์ สปสช.
  • ประกันสังคม : เบิกได้ไม่เกิน 12,500 บาทต่อข้าง โดยใช้ใบรับรองแพทย์และเอกสารการซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

สำหรับผู้มีบัตรทอง สามารถขอรับเครื่องช่วยฟังได้ที่โรงพยาบาลประจำสิทธิ์ของตนเอง และผู้เบิกประกันสังคมสามารถซื้อเครื่องช่วยหายใจได้โดยสำรองจ่ายไปก่อน และนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบรับรองแพทย์ หนังสือแนะนำจากแพทย์ และใบเสร็จการซื้อจากโรงพยาบาลหรือร้านค้าไปเบิกสิทธิประโยชน์กับประกันสังคม

เครื่องช่วยฟังอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะช่วยขยายเสียงและส่งไปที่หูของผู้ใช้งานหรือผู้พิการทางการได้ยิน โดยมีทั้งแบบใส่ที่หลังหูหรือใส่ที่ช่องหู ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาหรือบกพร่องทางการได้ยินใช้ชีวิตประจำวันได้เต็มที่

ข้าราชการสามารถเบิกสิทธิได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ เบิกได้ข้างละ 13500 บาท ถ้าต้องการ 2 ข้าง ไม่เกิน 27000 บาท ระยะเวลาในการใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงจะสามารถเบิกเครื่องช่วยฟังใหม่ได้